ผลของการใช้กิจกรรมสนทนาตอนเช้าที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรม และความรู้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม

Authors

  • ์กนิษฐา พวงไพบูลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปฏิบัติงานที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม

Abstract

การวิจัยเรื่องการศึกษาผลของการใช้กิจกรรมสนทนาตอนเช้าที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรมและ ความรู้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อสำรวจค้นคว้า เกี่ยวกับคุณธรรมที่สมควรได้รับการพัฒนาในชั่วโมงสนทนาตอนเช้า ของเด็กนักเรียนโดยสร้างและทดลองใช้ชุดกิจกรรมสนทนาตอนเช้าเพื่อพัฒนาคุณธรรม และ ๒) เปรียบ เทียบระดับคุณธรรมและความรู้ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ระหว่างกลุ่มที่ใช้กิจกรรมสนทนาตอนเช้าแบบมีชุดกิจกรรม ๑ ห้องเรียนจำนวน ๓๔ คน และไม่มีชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรม ๑ ห้องเรียนจำนวน ๓๔ คน โดยใช้เครื่องมือคือ ๑) แบบ บันทึกพฤติกรรมคุณธรรมของนักเรียนโดยผู้ปกครองนักเรียน เพื่อน และครู ๒) แบบประเมินพฤติกรรม คุณธรรมของนักเรียนโดยผู้ปกครองนักเรียน เพื่อน และครู ๓) แบบสอบถามความคิดเห็น ๔) แบบบันทึก คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๕) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านคุณธรรม ๖) แผนการ จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรม ในชั่วโมงสนทนาตอนเช้า เพื่อพัฒนาคุณธรรม ผลการทดลองมีดังนี้ ๑) คุณธรรมที่สมควรได้รับการพัฒนาในชั่วโมงสนทนาตอนเช้าทั้งสิ้น ประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ ความอดทน ความมีระเบียบวินัยมีน้ำใจ ความสุภาพ ความประหยัด ความสะอาด และความสามัคคี ๒) เมื่อเปรียบเทียบระดับคุณธรรมและความรู้ของนักเรียนกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองพบว่าระดับคุณธรรมและความรู้ของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม

 

The purposes of this research were 1) to study students’ morals which are supposed to be developed during homeroom hours and create homeroom activities,and 2) to compare the morals and knowledge of Prathomsuksa four students between two groups. Thirtyfour students were assigned to the experimental group and thirty four students were assigned to the control group. The research instruments were 1) moral activity reports for parents, friends and teachers, 2) moral assessment forms for parents, 3) Questionnaires for students, 4) record forms in 8 subject groups, 5) a moral assessment test, and 6) homeroom lesson plans for moral development. The results were as follows: 1) The 8 morals that are supposed to be developed during homeroom hours include honesty, patience, discipline, kindness, gentleness, saving, cleanliness and unity. 2) Students in the experimental group had higher morals and knowledge than those in the control group.

Downloads

How to Cite

พวงไพบูลย์ ์. (2014). ผลของการใช้กิจกรรมสนทนาตอนเช้าที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรม และความรู้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. Journal of Education Studies, 41(4), 55–68. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/20568