การพัฒนากระบวนการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการซิกซ์ซิกมาและการประเมิน ความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์

Authors

  • วิชัย เสวกงาม อาจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและ การสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อลิศรา ชูชาติ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษา วิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุวิมล ว่องวาณิช อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและ ประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) พัฒนากระบวนการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียน การสอนโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการซิกซ์ซิกมาและการประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์ ๒) ศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการและ ๓) ศึกษาปัจจัยเอื้อและปัญหาอุปสรรคในการใช้กระบวนการ ในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้พหุเทศะกรณีศึกษา ในโรงเรียนมัธยมขนาดเล็กและโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ ระยะเวลา ๑๘ สัปดาห์ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ๑) กระบวนการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนของกระบวนการ ๗ ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ ๑ การระบุปัญหา ขั้นที่ ๒ การสร้างทีมและการฝึกอบรมทีม ขั้นที่ ๓ การวัดขนาดของ ปัญหา ขั้นที่ ๔ การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ขั้นที่ ๕ การเลือกและการทดลองใช้วิธีการแก้ปัญหา ขั้นที่ ๖ การปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหา และขั้นที่ ๗ การควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาเดิมอีก ๒) ครูทั้งสอง โรงเรียนสามารถดำเนินการตามกระบวนการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนได้ทุกขั้นตอน ผลของการดำเนินงานพบว่า ครูมีการวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีและหลักการ และมีการบันทึกหลังการเรียนการสอนเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน นักเรียนสามารถเรียนรู้และ พัฒนาทักษะที่เป็นปัญหาได้ และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของทักษะที่เป็นปัญหาหลังการใช้กระบวนการ เรียนการสอนสูงกว่าก่อนการใช้กระบวนการเรียนการสอนในทุกทักษะ ในการหาระดับคุณภาพของ ซิกมาพบว่า ระดับคุณภาพของซิกมาหลังการใช้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนสูง กว่าระดับคุณภาพของซิกมาก่อนใช้กระบวนการในทุกระดับชั้น ๓) ปัจจัยเอื้อต่อการใช้กระบวนการ คือ (๑) การสนับสนุนของผู้บริหาร (๒) การวางแผนและติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง การบริหารโครงการ แบบมีส่วนร่วมและยืดหยุ่น และ (๓) ความร่วมมือของครูผู้ร่วมโครงการ ส่วนปัญหาอุปสรรคต่อการใช้ กระบวนการ คือ (๑) การเป็นโครงการใหม่ซึ่งต้องการการปรับตัวของครู และ (๒) ภาระงานจำนวนมาก ของครูและกิจกรรมจำนวนมากของโรงเรียน

 

The purposes of the study were to 1) develop an instructional quality improvement process by applying the Six Sigma process and complete needs assessment, 2) investigate the effectiveness of the process, and 3) study the supporting factors, obstructions, and problems of using the process in different school sizes. This study consisted of research and development using a multi-site case study in two secondary schools, large and small. The process was implemented for a period of 18 weeks. The research results were as follows: 1) The instructional quality improvement process was composed of a seven-step process that comprised of (1) identifying the problem, (2) forming teams and training, (3) measuring problem size, (4) analyzingthe problem, (5) solution selection and implementation, (6) improvement, and (7) control. 2) Teachers from both schools were able to manage all of the process procedures. After implementation, the evaluation reported that teachers planned and designed their lesson plans based on the theories and principles and documented their instruction for further improvement. Students showed that they learned and developed their problem solving skills. Students had a higher average score in regards to problem solving skills than before implementation of the program; on the sigma level calculation, the sigma level of all grade levels was higher than before the implementation of instructional quality improvement process. 3) The supporting factors in this process were (1) the support of the school’s administrators, (2) the persistence of project planning and monitoring, the coalition management and f lexibility of project management, and (3) teachers’ coordination. The obstructions and problems of this process implementation were (1) the project was very new which required adjustment of teachers, and (2) a large amount of school projects and workload of the teachers.

Downloads

How to Cite

เสวกงาม ว., ชูชาติ อ., & ว่องวาณิช ส. (2014). การพัฒนากระบวนการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการซิกซ์ซิกมาและการประเมิน ความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์. Journal of Education Studies, 41(4), 35–54. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/20567