การพัฒนาอัตมโนทัศน์ทางสังคมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 ด้วยกิจกรรมตามแนวจิตตปัญญาศึกษา

ผู้แต่ง

  • ภวิกา ภักษา

คำสำคัญ:

กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา, อัตมโนทัศน์ทางสังคม, นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

บทคัดย่อ

     การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมตามแนวจิตตปัญญาศึกษาในการส่งเสริมอัตมโนทัศน์ทางสังคมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมฯ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมฯ กลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ชั้นปีที่ 5คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 19คน สาขาวิชาภาษาไทย ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก ดำเนินกิจกรรมทั้งหมด 2วัน ประกอบด้วย 16 กิจกรรม  เก็บข้อมูล 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวัดอัตมโนทัศน์ทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยแบบ Nonparametric Test เลือกใช้ Wilcoxon Signed Rank Test และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบประเมินความพึงพอใจ

     ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมฯ มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2)เท่ากับ 77.20/77.54ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ (75/75)และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.)เท่ากับ 0.46  ซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน (0.50ขึ้นไป) 2) หลังจัดกิจกรรมฯ กลุ่มเป้าหมายมีระดับอัตมโนทัศน์ทางสังคมสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05และ ระยะติดตามผลมีระดับอัตมโนทัศน์ทางสังคมไม่แตกต่างจากระยะหลังการทดลองและ 3) มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมต่อกิจกรรมฯ อยู่ในระดับ 4.86สูงกว่าเกณฑ์ 3.51 ที่กำหนดไว้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-20

How to Cite

ภักษา ภ. (2019). การพัฒนาอัตมโนทัศน์ทางสังคมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 ด้วยกิจกรรมตามแนวจิตตปัญญาศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2), 272–291. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/196395