ผลการใช้วิธีการสอนแบบจับคู่ดูแลกันในวิชาการพัฒนาเครื่องมือวิจัยต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพัฒนาการทางการเรียนของนิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • อารีย์วรรณ อ่วมตานี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, พัฒนาการทางการเรียน, การจับคู่ดูแลกัน

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการทางการเรียน
โดยใช้การเรียนแบบจับคู่ดูแลกัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 45 คนที่ลงทะเบียนเรียนการพัฒนาเครื่องมือวิจัย สุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มเรียนตอนที่ 1 จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลองจับคู่ได้ 15 คู่ และกลุ่มเรียนตอนที่ 2 จำนวน 15 คน เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการเรียนแบบจับคู่ดูแลกัน แผนการเรียนแบบปกติ และแบบทดสอบความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที

     ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มทดลองหลังเรียนแบบจับคู่ดูแลกันมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองหลังเรียนแบบจับคู่ดูแลกัน มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนได้รับการเรียนแบบจับคู่ดูแลกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มทดลองหลังได้รับการเรียนแบบจับคู่ดูแลกันมีคะแนนพัฒนาการทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การเรียนแบบจับคู่ดูแลกันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนได้สูงกว่าการเรียนแบบปกติ ดังนั้นจึงควรนำรูปแบบการเรียนแบบจับคู่ดูแลกันไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่น ๆ

Author Biography

อารีย์วรรณ อ่วมตานี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-26

How to Cite

อ่วมตานี อ. (2019). ผลการใช้วิธีการสอนแบบจับคู่ดูแลกันในวิชาการพัฒนาเครื่องมือวิจัยต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพัฒนาการทางการเรียนของนิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 544–560. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/179883