การพัฒนาองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6: เทคนิคเดลฟาย

ผู้แต่ง

  • ธนิยา เยาดำ
  • ศิริชัย กาญจนวาสี, ศาสตราจารย์ ดร.
  • ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ, อาจารย์ ดร.

คำสำคัญ:

ความเข้าใจในการอ่าน, เทคนิคเดลฟาย, องค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่าน, ภาษาไทย, ประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย
สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหลักภาษา 9 คน และการสอนภาษาไทย 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย ชุดที่ 1 แบบสอบถามปลายเปิด ชุดที่ 2 และ 3 แบบสอบถามปลายปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัธยฐาน ผลต่างของมัธยฐานกับฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อหาฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยมี 7 องค์ประกอบ ดังนี้1) บอกความหมายของคําศัพท์ที่มีความหมายตามอรรถ 2) บอกความหมายของคําศัพท์ที่มีความหมายโดยนัย 3) ระบุความหมายของพลความของข้อมูลที่ปรากฏ 4) ระบุความหมายของพลความของข้อมูลที่แฝงเร้น 5) ระบุใจความสําคัญของข้อมูลที่ปรากฏ 6) ระบุใจความสําคัญของข้อมูลที่แฝงเร้น และ 7) การตีความด้านองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย 7 องค์ประกอบ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในระดับมากที่สุด (Mdn = 5.00, |Mdn-Mode| = 0, IR = 0)

Author Biographies

ธนิยา เยาดำ

สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศิริชัย กาญจนวาสี, ศาสตราจารย์ ดร.

สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ, อาจารย์ ดร.

สาขาจิตวิทยาการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-26

How to Cite

เยาดำ ธ., กาญจนวาสี ศ., & วิเศษสุวรรณภูมิ ป. (2019). การพัฒนาองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6: เทคนิคเดลฟาย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 103–122. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/179737