การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการการเรียนกับการทำงาน สาขาวิชาการจัดการเชิงประยุกต์ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในเขตจังหวัดนครราชสีมา

Authors

  • อลงกต ยะไวทย์, ดร.
  • ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล, ดร.
  • ณภัทธิรา มุ่งธนวรกุล

Keywords:

หลักสูตรบูรณาการการเรียนกับการทำงาน, สาขาวิชาการจัดการเชิงประยุกต์, ระบบการศึกษาแบบหน่วยการเรียน, การจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่น, WORK INTERGRATED LEARNING CURRICULUM, PRACTICAL MANAGEMENT, MODULAR SYSTEM EDUCATIONAL MODEL, EDUCATIONAL RESPOND TO LOCAL NEEDS

Abstract

            งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรบูรณาการการเรียนกับการทำงานแบบต่อเนื่องตลอดหลักสูตรในสาขาวิชาการจัดการเชิงประยุกต์ระดับปริญญาตรี ให้ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในเขตจังหวัดนครราชสีมา ได้สำรวจคุณลักษณะและสมรรถนะบัณฑิตที่สถานประกอบการต้องการทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มพาณิชย์กรรม จำนวน 312 คน แล้วพัฒนาหลักสูตรโดยใช้รูปแบบของไทเลอร์ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงอนาคตแบบอีดีเอฟอาร์ด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 13 ท่าน พบว่าสถานประกอบการต้องการบัณฑิตที่มีคุณลักษณะและสมรรถนะ ดังนี้ (1) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความภูมิใจในองค์กรของตน ยึดมั่นในกฎหมาย ศีลธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ (2) มีการปรับตัวในสภาวะแรงกดดันที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน ฟัง พูด อ่าน เขียน และเข้าใจคำสั่งหรืองานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างถูกต้อง และเรียงลำดับความสำคัญของงานที่ได้รับมอบหมาย (3) มีองค์ความรู้ในสาขาวิชาการจัดการเชิงประยุกต์อย่างถ่องแท้ กว้างขวางและเป็นระบบ ใช้ทักษะและความเข้าใจอันถ่องแท้ในเนื้อหาสาระทางการจัดการเชิงประยุกต์ในการทำงาน และศึกษาปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขอย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงความรู้ทางทฤษฎี ประสบการณ์ภาคปฏิบัติ และผลกระทบจากการตัดสินใจ (4) สมรรถนะด้านทัศนคติ ค่านิยม และความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเอง ต้องมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร พัฒนาตนให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร รับรู้ ทำความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามนโยบายขององค์กร (5) เป็นผู้นำขับเคลื่อนการทำงานของทีมไปสู่เป้าหมายได้ ควบคุมอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงเป็นที่พึ่งทางอารมณ์ต่อตนเองและผู้อื่นได้ ตระหนักถึงผลประโยชน์และเป้าหมายของทีมเป็นหลักมากกว่าประโยชน์ส่วนตน (6) สามารถวางแผนในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบอย่างเป็นระบบ สามารถปฏิบัติงานที่รับผิดชอบให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานที่องค์กรต้องการ และทำงานหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน ผลการพัฒนาหลักสูตรได้รูปแบบแซนวิชแบบบางโดยสลับการเรียนกับการทำงานแบบต่อเนื่องตลอดหลักสูตร จัดระบบการเรียนแบบโมดูล นำเอารายวิชาที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กันหรือเกื้อหนุนซึ่งกันรวมเข้าไว้ด้วยกัน มีการเชื่อมโยงความรู้จากชั้นเรียนมาสู่การปฏิบัติในสถานประกอบการด้วยการทำโจทย์รายวิชาและบูรณาการทุกรายวิชามาเป็นโครงงาน มีการวัดและประเมินผลการเรียนโดยแบ่งสัดส่วนการประเมินจากคณาจารย์ผู้สอนร้อยละ 80 จากพี่เลี้ยงในสถานประกอบการร้อยละ 20

 

The objectives of this study is the curriculum development for Business Administration study program in undergraduate level to integrate work experience into in-school study throughout the program in response to a job market demand within Nakhon Ratchasima Province. Thus, a survey was carried out to study the desired characteristic and competency of students needed for the job market in the province. A group sample was from 312 companies. The curriculum development is based on the Tyler’s Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) with 13 experts. The survey outcomes showed that the students who workplace needs ; (1) Honesty, take pride in company, adherence the law, morality and professional ethics, (2) Ability to handle pressure, understand and carry out work instruction correctly, and prioritization skill, and (3) Possess knowledge related to their major study field in great depth, as a whole, systematically, and able to apply knowledge and problem solving that may rises at work by offering a creative solution that taken into consideration any possible consequences. (4) Positive to the company and self-develop in according to         the company’s goal and policy, (5) Contains leadership, team spirit, emotionally stable, and gives importance to team benefit over personal benefit, and (6) Enable a person to put together a systematic work plan and carry out the task according to the plan following       the company standards, and able to perform a multi tasks at the same time. The curriculum development outcome was teaching based on the form of Thin Sandwich where working and studying were taking turn throughout the program whereby the study content was designed in Module. Each module’s content was pulled together various subjects that had their content that supporting each other, and contain links to working companies. Students were required to complete questions and projects for the entire program. Student’s evaluation was conducted at the end of the third year where 80% was from teachers, and 20% was from company job supervisor.

Author Biographies

อลงกต ยะไวทย์, ดร.

อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล, ดร.

อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ณภัทธิรา มุ่งธนวรกุล

อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

Downloads

Published

2018-02-27

How to Cite

ยะไวทย์ อ., วงษ์ชวลิตกุล ณ., & มุ่งธนวรกุล ณ. (2018). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการการเรียนกับการทำงาน สาขาวิชาการจัดการเชิงประยุกต์ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในเขตจังหวัดนครราชสีมา. Journal of Education Studies, 46(1), 133–156. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/113652