การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ เด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง ในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • ศศิพินต์ สุขบุญพันธ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

ภูมิปัญญาท้องถิ่น, เด็กที่มีความต้องการพิเศษ, การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง, LOCAL WISDOM, CHILDREN WITH DISABILITIES, PARENT INVOLVEMENT

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง 2) ศึกษาผลของการบูรณาการ         ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง และ3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยใช้การวิจัยแบบ PAR (Participation Action Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในเขตอำเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คนได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสำรวจบริบทของชุมชน แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง  แผนกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษจากภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือและดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยใช้แนวทางของภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจัดเป็นฐานการเรียนรู้จำนวน 6 ฐานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ผลการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นพบว่าผู้ปกครองมีความสนใจในการนำองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทของตนในการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการบุตรหลานที่มีความต้องการพิเศษ ผู้ปกครองมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อกิจกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพราะเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ตลอดจนอุปกรณ์วัสดุเป็นสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น

 

The objectives of this research were 1) to study the Integrating approach of local wisdom to support the development of children with disability by parent involvement 2) to investigate the result of the integrating of local wisdom to support the development of children with disability by parent involvement and 3) to examine the parents satisfaction towards the integrating of local wisdom to support the development of children with disability by parent involvement. Participation Action Research (PAR) was employed in this study. The sample was 30 parents of children with disability in Sansai District, Chiangmai province. Those parents were purposively selected. The research instruments included a survey of community context and local wisdom, a parent interview protocol regarding their roles and approaches to support the development of children with disability, the activity plan based on local wisdom to support the development of children with disability, including a questionnaire and an interview protocol of parents satisfaction toward the integrating of local wisdom to support the development of children with disability. The research results were found that the parents of children with disability took their importance part of assisting and caring children with disability. Parents employed local wisdom and applied into 6 learning bases to support their children with disability. The resulted of integrating local wisdom has shown that parents were interested to convey the local wisdom to support their children with disability and those parents learned the importance of their local wisdom and their roles to involve on promoting their children with disability. The parents had the most satisfied toward the activities integrating local wisdom to support the development of children with disability. They provided the opinion about the practicality of integrating local wisdom due to cultural conservation and daily life tools.

Author Biography

ศศิพินต์ สุขบุญพันธ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Downloads

Published

2018-02-27

How to Cite

สุขบุญพันธ์ ศ. (2018). การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ เด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง ในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. Journal of Education Studies, 46(1), 100–116. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/113646