ผลของการใช้รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หลักการใช้ภาษาไทยที่มีต่อความคิดเชิงมโนทัศน์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • สุพัตรา อุตมัง, อาจารย์

Keywords:

การสอนหลักการใช้ภาษาไทย, รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์, ความคิดเชิงมโนทัศน์, ความคงทนในการเรียนรู้, TEACHING THAI LANGUAGE PRINCIPLES AND USAGE, CONCEPT DEVELOPMENT MODEL, CONCEPTUAL THINKING, LEARNING RETENTION

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบผลของการใช้รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์กับรูปแบบการสอนแบบปกติในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยที่มีต่อความคิดเชิงมโนทัศน์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ฝ่ายมัธยม ปีการศึกษา 2558  แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์  จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน รวม  60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์ จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความคิดเชิงมโนทัศน์ และแบบวัดความคงทนในการเรียนรู้ ฉบับที่ 1 เมื่อการทดลองสิ้นสุด และฉบับที่ 2 หลังการวัดครั้งที่ 1 เป็นเวลา 14 วัน  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์ และแผนการเรียนรู้แบบปกติ ใช้ระยะเวลาการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ รวม 16 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t ( t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กลุ่มทดลองมีความคิดเชิงมโนทัศน์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) กลุ่มทดลองมีความคิดเชิงมโนทัศน์หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มทดลองมีความคงทนในการเรียนรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The purposes of this research were to study and compare the effects of using the concept development model in organizing learning activities for Thai language principles and usages on conceptual thinking and learning retention for eleventh grade students. The subject was 60 eleventh grade students in science-mathematics program in academic year 2015 at Chulalongkorn University Demonstration Secondary School in Bangkok. This subject was divided into two groups equally; 30 students in experimental group learn by concept development model, and 30 students in control group learn by conventional instruction.  The instruments for collecting data were two sets of Thai language learning achievement test, and the conceptual thinking test. The instruments for experiment were two lesson plans. The duration of the experiment was 16 periods over a span of eight weeks. The collected data were analyzed by arithmetic means, standard deviation and  t-test. The results were as following 1) Experimental group had higher conceptual thinking after the experiments than before stating an experiment at a .05 level of significance.  2) Experimental group had higher conceptual thinking than control group at a .05 level of significance. 3) Experimental group had higher learning retention than control group at a .05 level of significance.

Author Biography

สุพัตรา อุตมัง, อาจารย์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-12-28

How to Cite

อุตมัง ส. (2017). ผลของการใช้รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หลักการใช้ภาษาไทยที่มีต่อความคิดเชิงมโนทัศน์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Journal of Education Studies, 45(3), 175–187. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/107428