การพัฒนาฐานความรู้สุขศึกษาและพลศึกษาส่งเสริมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Keywords:
ฐานความรู้, สุขศึกษาและพลศึกษา, การเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์, การศึกษาขั้นพื้นฐาน, KHOWLEDGEBASE, HEALTH AND PHYSICAL EDUCATION, E – LEARNING, BASIC EDUCATIONAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาฐานความรู้สุขศึกษาและพลศึกษาส่งเสริมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับครู อาจารย์ ผู้สอนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา 2) เพื่อประเมินรูปแบบการใช้ฐานความรู้ ฯ มีขั้นตอนการวิจัย 3 ดังนี้ 1) ขั้นเตรียมการพัฒนาฐานความรู้ ฯ 2) ขั้นออกแบบและพัฒนาฐานความรู้ ฯ 3) ขั้นการประเมินรูปแบบการใช้ฐานความรู้ ฯ กลุ่มตัวอย่างคือ ครู อาจารย์ ผู้สอนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ฐานความรู้ ฯ จำนวน 226 คน และตอบแบบสอบถาม จำนวน 49 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เข้าเยี่ยมชมและประเมินฐานความรู้ ฯ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดย ผู้วิจัยส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์เก็บข้อมูลและรายละเอียดการเข้าเยี่ยมชมและประเมินเว็บไซต์ฐานความรู้ ฯ ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคมถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2558 เป็นช่วงเวลาทั้งสิ้น 3 เดือนการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ฐานความรู้ ฯ ที่พัฒนาขึ้นไว้บนเว็บไซต์ http://www.satitchula.org/p/ ประกอบด้วยจำนวน 8 เมนูหลัก คือ เมนูหลักสูตร เมนูแผนการสอน เมนูวิธีการสอน เมนูการวัดและประเมินผล เมนูแบบฝึกและแบบทดสอบ เมนูเกมและเพลง เมนูวารสารและบทความ เมนูสมาคมวิชาชีพ 2) ผลการประเมินรูปแบบการนำไปใช้ สรุปได้ดังนี้ เมนูหลักสูตรใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลและใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร เมนูแผนการสอนใช้เป็นตัวอย่างการจัดกิจกรรมแนวทางการสอนหรือประกอบการสอน เมนูวิธีการสอนใช้เป็นตัวอย่างการจัดกิจกรรมหรือแนวทางการสอน เมนูการวัดและประเมินผล ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการวัดและประเมินผล เมนูแบบฝึกและแบบทดสอบ เมนูเกมและเพลง ใช้ประกอบการเรียนการสอนนิสิต นักศึกษา เมนูวารสารและบทความ ใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า สืบค้น หรืออ้างอิง เมนูสมาคมวิชาชีพใช้เป็นช่องทางติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว ประกาศต่างๆหรือประชาสัมพันธ์ ครู อาจารย์ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อฐานความรู้ ฯ ในระดับมากที่สุด ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านการใช้ในการจัดการเรียนการสอน และด้านเทคโนโลยีและรูปแบบการนำเสนอ มีค่าเฉลี่ย 3.71 3.76 และ3.67 ตามลำดับ
The objectives of this research were 1) to develop knowledgebase on health and physical education in order to enhance e – learning for instructors or educators 2) to evaluate models of using this knowledgebase. The research procedures consisted of three phases ; Phase One : Preparation for knowledgebase, Phase Two : Design and develop knowledgebase and Phase Three : Evaluate models of using this knowledgebase. The samples were 226 health and physical education instructors who visited this knowledgebase, and 49 samples answered the questionnaire. These samples were selected by the purposive sampling. Researcher sent the letters to PR the knowledgebase to the samples during October 1st –December 31st, 2015 for 3 months. The frequency, percentage, and mean were used to analyze the data.
The research findings were as follows : 1) the developed “Knowledgebase on Health and Physical Education Enhancing e - Learning in Basic Education” URL is http://www.satitchula.org/p/ which consisted of 8 main menus : curricular menu, lesson plans menu, methods of teaching menu, assessments menu, tests and drills menu, games and songs menu, journals menu, and professional associations menu. 2) The conclusions of using knowledgebase were as follows: curricular menu will be used as resources for searching and developing curriculum, lesson plans menu will be used as guidelines for planning instruction , methods of teaching menu will be used as examples of planning learning activities, assessments menu will be used as the tentative ways to develop the assessment and evaluation, tests and drills menu and games and songs menu will be used as supplementary materials for teaching students, journals menu will be used as resources or references, and professional associations menu will be used as channels to update news and PR health and physical education. The samples satisfied this knowledgebase at the highest levels on the content, the usage learning management and technology and presentation with the mean scores of 3.71, 3.76 and 3.67 respectively.