เข้าใจความเป็นอัจฉริยะผ่านศาสตร์แห่ง ‘ความไม่ธรรมดา’

Authors

  • อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร, รองศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

ความไม่ธรรมดา, ความเป็นตัวของตัวเอง, ไอเดียที่ไม่ธรรมดา, EXTRAORDINARINESS, AUTONOMY, WONDERFUL IDEA

Abstract

ศาสตร์แห่งความไม่ธรรมดา (science of extraordinariness) ถูกพัฒนาขึ้นจากการศึกษาหาข้อสรุปจากความคล้ายคลึงกันที่ปรากฏให้เห็นในชีวิตวัยต้น บุคลิกภาพ และเส้นทางชีวิตแห่งความสำเร็จของอัจฉริยะบุคคล ในแง่มุมของพัฒนาการ ความฉลาดเลิศล้ำและความเชี่ยวชาญชำนาญในศาสตร์และศิลป์ใด ๆ ก็ตาม มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพันธุกรรม การฝึกฝนอบรม และค่านิยมทางสังคม  อาศัยมุมมองเชิงระบบ (systemic view) ความไม่ธรรมดาขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์เชิงพลวัตระหว่างบุคคล ศาสตร์หรือศิลป์ และเวทีตัดสิน  ผลการศึกษาอัจฉริยะบุคคลตัวอย่าง นำมาซึ่งบทเรียนแห่ง 3 คุณลักษณะที่บุคคลทั่วไป สามารถนำมาปรับใช้กับตนเองให้สามารถเดินบนเส้นทางความเชี่ยวชาญของตนสู่ความสำเร็จที่เหนือธรรมดา  โดยการให้คุณค่าต่อไอเดียที่ไม่ธรรมดา (wonderful ideas) กับการส่งเสริมความเป็นตัวของตัวเอง (autonomy) ในเด็กปฐมวัย ถือเป็นปัจจัยประกอบที่มีความสำคัญยิ่งตามทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญาของ  Jean Piaget

The science of extraordinariness has been developed by identifying the ways in which all extraordinary individuals are similar in their childhood, characteristics, and achievements. In developmental aspects, special talents in any domain are related to genes, unique pedagogical training approaches and social values. Through “systemic view”, extraordinariness depends on the dynamic interaction among individuals, domains, and the field. The lessons from this study could be applied by any ordinary individuals who seek to step into the domain of super-achievement. Two supportive factors of extraordinariness, also mentioned, are young children’s wonderful ideas and autonomy, both of which are related to the development of intellectuals, according to Jean Piaget.

Author Biography

อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร, รองศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-12-27

How to Cite

กุลพิจิตร อ. (2017). เข้าใจความเป็นอัจฉริยะผ่านศาสตร์แห่ง ‘ความไม่ธรรมดา’. Journal of Education Studies, 45(2), 268–284. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/107260