การยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครูประถมศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติในบริบทโรงเรียนของประเทศไทย

Authors

  • ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

คุณภาพการเรียนรู้, การออกแบบการเรียนรู้เชิงระบบ, ครูประถมศึกษา, QUALITY OF LEARNING, INSTRUCTIONAL SYSTEM DESIGN, ELEMENTARY SCHOOL TEACHERS

Abstract

การประถมศึกษาเป็นระดับการศึกษาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดีมีศักยภาพสำหรับอนาคต การจัดการเรียนรู้ระดับนี้จึงเป็นไปอย่างบูรณาการเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถ     เจตคติ คุณลักษณะ และพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้เรียนที่จะเรียนรู้ต่อไปในระดับที่สูงขึ้น และเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษาตามหลักการและเหตุผลของการจัดการประถมศึกษาในระดับสากลมีความชัดเจนในระยะเวลากว่า 40 ปี นับตั้งแต่มีการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ระยะหลังซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรโดยเน้นจัดการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระ ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ปรัชญาแนวคิดและหลักการทางการประถมศึกษาจึงมีความคลาดเคลื่อนไป ส่งผลต่อสถาบันผลิตครู และหน่วยงานใช้ครูที่ละเลยความสำคัญของการฝึกหัดครูประถมศึกษาเพื่อสอนในโรงเรียนประถมศึกษา   อย่างไรก็ตามในปัจจุบันผู้ที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นความสำคัญของการผลิตและพัฒนาครูประถมศึกษามากยิ่งขึ้น แสดงให้เห็นได้จากการกำหนดกรอบอัตราบรรจุครูสาขาการประถมศึกษา และสถาบันครุศึกษาได้เปิดสอนในหลักสูตรดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น จึงถึงเวลาที่นักการประถมศึกษาจะต้องร่วมกันพัฒนาผู้เรียนทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต รองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และการก้าวสู่ประเทศไทยยุค 4.0 ที่มีเป้าหมายสูงสุดคือการรังสรรค์การเรียนรู้และการดำรงชีวิต บุคคลสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือครูประถมศึกษา ซึ่งจะต้องดำเนินการออกแบบการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยใช้ความรู้ในศาสตร์การสอนประถมศึกษาเป็นพื้นฐานของการคิดและตัดสินใจ ในการจัดการเรียนรู้เพื่อบรรลุตามความมุ่งหวัง และพันธกิจ กระบวนการออกแบบเชิงระบบ ซึ่งประกอบด้วยขั้นวิเคราะห์ ขั้นออกแบบ ขั้นพัฒนา ขั้นนำไปใช้ และขั้นประเมิน เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้เกิดรูปแบบวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ  เกิดหน่วยการเรียนรู้ที่ครบวงจรซึ่งมีคุณภาพ สำหรับนำไปใช้พัฒนาและยกระดับคุณภาพผู้เรียน เป็นนวัตกรรมในชั้นเรียนของครูประถมศึกษา และสามารถต่อยอดเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้สู่สังคม

Elementary education is the level of education that is important to develop learners as good citizens for potential in the future. Instruction at this level is integrated to develop knowledge, skills, abilities, attitudes, attributes, and an essential basis for learners to continue learning at a higher level and life-long learning. Instruction at elementary education level relate to the principles and rationale of elementary education management at the international level, and this has been apparent for more than forty years since the elementary school curriculum in BE 2521. Later, the curriculum was changed to emphasize different learning areas throughout the past fifteen years; thus, there have been discrepancies in the philosophy, concepts, and principles of elementary education which affect teacher training institutes. Also, the institutes related to teachers have neglected the importance of elementary school teachers’ training to teach in elementary schools. However, at present, the concerned persons have realized the importance of the training and development of elementary school teachers. This is evidenced by the filling of the posts of elementary school teachers, and the institute of education has increased the elementary education programs. It is time for the elementary education educators to collaborate with the others to develop present and future learners to enter the changing 21st century and Thailand 4.0 with its aim for more generative learning and living. The most important persons who impact a successful instructional achievement at this level are elementary school teachers. Elementary school teachers have to provide an instructional system design by applying pedagogy of elementary education which has a foundation of thought and making decisions. For the instruction to achieve this purpose and mission, the instructional system design consists of the analyze phase, design phase, develop phase, implement phase and evaluate phase. These result in the quality of the efficient model of teaching and entire learning units for applying to improve the learners’ quality, innovation of elementary school teachers’ class and to create learning innovations for society.

Author Biography

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พระราชวังสนามจันทร์)

Downloads

Published

2017-12-27

How to Cite

กิจรุ่งเรือง ป. (2017). การยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครูประถมศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติในบริบทโรงเรียนของประเทศไทย. Journal of Education Studies, 45(2), 170–181. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/107230