การส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน: รอยเชื่อมต่อที่ราบรื่นจากชั้นอนุบาลสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Keywords:
ความพร้อมทางการเรียน, การส่งเสริม, เด็กอนุบาล, รอยเชื่อมต่อ, ประถมศึกษาปีที่ 1, SCHOOL READINESS, PROMOTING, KINDERGARTENER, TRANSITION, FIRST GRADEAbstract
การเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของชีวิตเด็กปฐมวัย เด็กจะสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงและก้าวผ่านช่วงรอยต่อระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและชั้นประถมศึกษาไปได้อย่างราบรื่นเพียงใด ขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบริบทต่าง ๆ รอบตัวเด็ก ทั้งในระดับครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ซึ่งมีอิทธิพลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก การสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาระหว่างชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาที่ราบรื่นเกิดจากการทำงานร่วมกันผ่านการพัฒนา 3 มิติของความพร้อม คือ ความพร้อมของเด็ก ความพร้อมของโรงเรียน และความพร้อมของครอบครัว บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับครูอนุบาล ครูประถมศึกษา ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบริบทต่าง ๆ รอบตัว และการสร้างรอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 รวมทั้งนำเสนอแนวทางการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนเพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อที่ราบรื่นระหว่างชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา ซึ่งเป็นการสนับสนุนและช่วยเหลือเด็กให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
Beginning the first grade of young children is a critical change in early childhood. Children’s ability of adaptation and the smoothness of transition significantly rely on the interaction between children and other surrounded factors which are family, school and community. These factors also have an influence on their learning progress and their development. Encouraging the smooth transition from kindergarten to first grade is triggered by the collaboration among three dimensions of readiness; child’s readiness, school’s readiness and family’s readiness. The aim of this article is to provide the kindergarten teachers, primary teachers, parents and other related individuals with the relationship between children with other surrounding factors and the transitions of kindergarten and first grade levels. The article also delivers the approach in promoting school readiness in order to achieve the smooth transition which effectively support children to handle changes and to succeed in their learning.