“...ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู...”: บทบาทหน้าที่ครูยุคปฏิรูปการศึกษา

Authors

  • จินตนา สรายุทธพิทักษ์, ศาสตราจารย์ ดร.
  • สริญญา รอดพิพัฒน์, อาจารย์

Keywords:

บทบาทหน้าที่ครู, ปฏิรูปการศึกษา, TEACHER ROLES, EDUCATION REFORM

Abstract

การปฏิรูปการศึกษาให้กับเยาวชนถือว่าเป็นภารกิจสำคัญของประเทศที่ต้องเร่งพัฒนาให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ โดยการปฏิรูปหลักสูตร การเรียนการสอน การพัฒนาครู การกระจายอำนาจ การสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ในภาพรวมของการศึกษาไทยภายใต้ยุทธศาสตร์การปฏิรูปในช่วงเวลาที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นนัยสำคัญด้านประสิทธิผลของการจัดการศึกษาว่ายังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายการปฏิรูปการศึกษาบัญญัติไว้ เกิดเป็นวิกฤตทางการศึกษาที่ส่งผลต่อความสามารถและคุณภาพในการแข่งขันระดับสากล ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช “…ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู…” มาเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการดำเนินงาน บทความนี้ จึงได้นำเสนอแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของครู ในการสร้างบรรยากาศที่ทำให้เด็กมีความสุข และอยากมาโรงเรียน ด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน การจัดโปรแกรมการเรียน การจัดบรรยากาศเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่อันดีในโรงเรียน รวมทั้งมีหลักจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตในห้องเรียน

Education reform for the youth is important for the country and needs to be urgently developed to follow the changes of globalization by reforming teaching curriculum and instruction, teacher development, decentralization, and networking exchange. However, Thai education phenomena under the previous reform strategy reflected the implications of effectiveness on education management that could not follow the aim stated in the education reform strategy. This resulted in an education crisis affecting the ability and quality of international competition. Nowadays, the Ministry of Education has specified the policy by following the suggestion from His Majesty the late King Bhumibol Adulyadej that “teachers love students and vice versa”. This article presents the guidelines regarding teachers’ roles in creating a happy atmosphere for students. By organizing the school environment, organization of study programs, and organizing the atmosphere to promote good living in school, including psychological principles to promote mental health in the classroom.

Author Biographies

จินตนา สรายุทธพิทักษ์, ศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาคหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สริญญา รอดพิพัฒน์, อาจารย์

สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาคหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-12-27

How to Cite

สรายุทธพิทักษ์ จ., & รอดพิพัฒน์ ส. (2017). “.ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู.”: บทบาทหน้าที่ครูยุคปฏิรูปการศึกษา. Journal of Education Studies, 45(2), 141–151. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/107224