การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาออกแบบ

Authors

  • บุญชู บุญลิขิตศิริ, อาจารย์ ดร.

Keywords:

กิจกรรมการเรียนรู้, ความคิดสร้างสรรค์, รายวิชาออกแบบ, LEARNING ACTIVITIES, CREATIVE THINKING, DESIGN COURSE

Abstract

ความคิดสร้างสรรค์ (creative Thinking) เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาในสิ่งต่าง ๆ เพราะจะทำให้สามารถมองเห็นแนวทาง วิธีการ รวมทั้งโอกาสใหม่ ๆ ในการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จ สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญของผู้เรียนที่ประกอบด้วย 4 C ซึ่งได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking), การสื่อสาร (communication), การร่วมมือ (collaboration) และ ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) เพื่อให้ผู้เรียนที่มีทักษะที่สำคัญเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการทำงานและเป็นนวัตกรที่มีประสิทธิภาพต่อไปเมื่อเข้าสู่การประกอบอาชีพในอนาคต โดยรายงานสภาเศรษฐกิจโลกได้กล่าวถึง 10 ทักษะ ที่ตลาดแรงงานโลกต้องการในปี 2020 นั้น ความคิดสร้างสรรค์เป็น 1 ใน 10 ทักษะที่ถูกเสนอขึ้นมา อีกทั้งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เสนอข้อมูลว่า นายจ้างขององค์กรในศตวรรษที่ 21 มีความต้องการให้คนในองค์กรมีทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ มากที่สุด สอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับประเทศไทย 4.0 ที่จะใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ในการพัฒนาประเทศโดยขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการสร้างมูลค่า ความแตกต่าง หรือการต่อยอดในการพัฒนาสินค้าและบริการ เป็นปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (innovation-based economy) ต่อไป

Creative thinking is necessary for the development of anything. This skill can be used to implement an approach, strategy and create a new chance to develop innovations. Creative thinking is an important skill in the 21st century for learners and consists of the 4 C’s: critical thinking, communication, collaboration and creativity. Learners who have these skills are able to be good workers and efficient innovators when they get into their future careers. The World Economic Forum revealed an essential skill (in ten skills) that the world labor market needs in 2020 is more creative thinking. OECD also presented the fact that most employers of all types of organizations in the 21st century wanted their employees to have critical thinking skills and creativity. Related to the development of human resources for Thailand 4.0, a creative economy will be implemented as a guideline in developing the country with creativity, innovation and technology to add value and differences, or cumulate product and service development that will change the economy infrastructure to be a value-based economy.

Author Biography

บุญชู บุญลิขิตศิริ, อาจารย์ ดร.

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Downloads

Published

2017-12-27

How to Cite

บุญลิขิตศิริ บ. (2017). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาออกแบบ. Journal of Education Studies, 45(2), 59–71. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/107201