แนวทางการพัฒนาความใฝ่รู้: ทางออกสำหรับการดำรงอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้

Authors

  • ศรัณย์พร ยินดีสุข, อาจารย์ ดร.

Keywords:

การพัฒนาความใฝ่รู้, สังคมแห่งการเรียนรู้, CURIOSITY DEVELOPMENT, LEARNING SOCIETY

Abstract

          ความใฝ่รู้เป็นเครื่องมือสำหรับการดำรงอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ เพราะว่าความใฝ่รู้ทำให้เกิดความปรารถนาที่จะเรียนรู้ ใส่ใจสิ่งรอบตัว และชอบพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความใฝ่รู้ ด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดี การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับการท้าทายทางความคิด และการฝึกให้นักเรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจนสำเร็จ ซึ่งช่วยให้นักเรียนพึงพอใจ และรับรู้ความสามารถตนเอง นำไปสู่การแสดงลักษณะใฝ่รู้ซ้ำๆจนกลายเป็นนิสัย และหากได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและสังคม จะยิ่งส่งเสริมให้พฤติกรรมนี้คงทนยิ่งขึ้น อันจะช่วยให้เยาวชนสามารถปรับตัวทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก การพัฒนาความใฝ่รู้ให้แก่นักเรียนจึงเท่ากับเป็นการมอบเครื่องมือในการพัฒนาตนเองให้แก่นักเรียนตลอดชีวิต และสามารถอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Curiosity is one of essential tools in existence in society of learning. Since the curiosity makes the desire to learn, pays attention to surroundings and self-development. The teacher plays an important role in enhancing curiosity of the student by behaving as a good example, creating atmosphere for good learning, arranging activities for self-learning practices. All these key factors will allow the student to realize their own capabilities, learn to self-develop which leads to the success and satisfaction. More encourage by family and society, more durable this curiosity behaviour. This curiosity behavior will enable the youth to adapt following the pace of global change. The development of curiosity is to sharpen one of essential tools used for.

Author Biography

ศรัณย์พร ยินดีสุข, อาจารย์ ดร.

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม

Downloads

Published

2017-12-20

How to Cite

ยินดีสุข ศ. (2017). แนวทางการพัฒนาความใฝ่รู้: ทางออกสำหรับการดำรงอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้. Journal of Education Studies, 45(1), 335–344. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/106155