การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน: แนวคิดและแนวทางสู่ความสำเร็จ
Keywords:
ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ, การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน, การพัฒนาวิชาชีพครู, การพัฒนาการเรียนการสอน, PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY, LESSON STUDY, TEACHER PROFESSIONAL DEVELOPMENT, INSTRUCTIONAL DEVELOPMENTAbstract
ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (Professional Learning Community – PLC) คือการรวมกลุ่มทำงานแบบร่วมมือรวมพลังของผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียน การจัดการเรียนการสอน และคุณภาพการศึกษา โดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ การถอดบทเรียน การสืบสอบเพื่อสะท้อนผลเชิงวิชาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งค่านิยม วิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ และประสบการณ์การปฏิบัติส่วนบุคคลร่วมกันอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยการดำเนินงานตามแนวคิดนี้ไม่ได้มีขั้นตอนหรือรูปแบบการดำเนินงานที่สำเร็จรูปเป็นรูปธรรม ผู้สนใจจึงสามารถใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (lesson study) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดำเนินงานได้ เนื่องจากมีหลักการและกระบวนการที่ชัดเจน สอดคล้องกับแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ และสามารถช่วยพัฒนาครู ผู้เรียน สภาพการเรียนการสอน และสัมพันธภาพของบุคลากรในสถานศึกษาได้พร้อมกัน แต่ทั้งนี้ ต้องอาศัยการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง การใช้เทคนิควิธีในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินงาน การสื่อสารทางบวก และการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร จึงสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง สำเร็จผล และเกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพได้อย่างแท้จริง
Professional Learning Community (PLC) is a collaborative working group of teachers and educators who express the goal to develop learners, instruction, and educational quality. The working collaboration could be worked through the learning process in practicality, lesson learned, reflective professional inquiry and continually shared values, vision, leadership and individual practices. However, the implementation of PLC does not have fixed pattern. Interested persons could possibly apply the Lesson Study as alternative, because there are clear principles and process, and be congruent to the concept of PLC. Thus, it could be helpful in developing teachers, students, instruction and relationships among school members. The keys to the successful changes include accurate understanding to lesson study, employing varied techniques and strategies, positive communication and administrators’ active participation.