การสร้างเครือข่ายความร่วมมือพหุภาคีเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ โรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดนครปฐม
Keywords:
การสร้างเครือข่ายพหุภาคี, โรงเรียนขนาดเล็ก, MULTI-LATERAL COOPERATION DEVELOPMENT, SMALL-SIZED SCHOOLSAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือพหุภาคีระหว่างสถาบันการศึกษา โรงเรียน ชุมชน วัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรรัฐและเอกชนต่าง ๆ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก 2) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบของกระบวนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือพหุภาคีในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยกำหนดรูปแบบกระบวนการสร้างเครือข่ายอย่างกว้างๆ ที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบ โดยรูปแบบที่ 1 มี 7 ขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การสร้างเครือข่ายภายในโรงเรียน การสร้างเครือข่ายระหว่างโรงเรียน และการสร้างเครือข่ายพหุภาคี ส่วนรูปแบบที่ 2 มี 6 ขั้นตอน เริ่มการสร้างเครือข่ายพหุภาคีตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบมีการเสริมประสบการณ์โดยการศึกษาดูงานในโรงเรียนขนาดเล็กและการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเชิงวิชาการให้กับบุคลากร ผลการวิจัย พบว่า
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือพหุภาคีเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กทั้ง 2 รูปแบบ ได้ผลไม่แตกต่างกันมากนัก และมีเครือข่ายเกิดขึ้นจากกระบวนการนี้ ได้แก่ 1) เครือข่ายภายในโรงเรียน 2) เครือข่ายระหว่างโรงเรียน 3) เครือข่ายผู้ปกครองและชุมชน 4) เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5) เครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ 6) เครือข่ายภาคเอกชน และ 7) เครือข่ายนักวิชาการในมหาวิทยาลัย
The research objectives were 1) to develop multi-lateral cooperation between educational institution, schools, communities, temples, local government, public agencies and private sectors to improve the education quality of the small-sized schools, 2) to compare the two approaches in developing the multi-lateral cooperation to improve the education quality in small-sized schools. This was a participatory action research. The approaches in developing the networks were planned into two different approaches. The first approach consisted of 7 steps from developing within-school network, developing between-school network to developing multi-lateral cooperation. The second approach consisted of 6 steps starting with developing the multi-lateral cooperation. Participants in both approaches were enhanced with field trip to best-practice small-sized schools and academic workshop.
Our results show that there is no significant differences in developing the multi-lateral cooperation between the two approaches. The multi-lateral cooperation formed during the processes includes within-school network, near-by-school network, parent and community network, networks with local government, public agencies and private sectors, and network with scholars in the university. These networks should be encouraged and mobilized by further research to produce concrete results.