การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่

Authors

  • ระวี สัจจโสภณ, อาจารย์ ดร.

Keywords:

นวัตกรรมการเรียนรู้, สมรรถนะ, แกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่, LEARNING INNOVATION, COMPETENCY, SENIOR CITIZEN CLUB SUCCESSORS

Abstract

การวิจัยและพัฒนา ประยุกต์ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบของสมรรถนะและแนวทางการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ และติดตามประเมินผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทดลองใช้ ขั้นการวิจัยเก็บข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร การถอดบทเรียนจากแนวปฏิบัติที่ดีในพื้นที่ และการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ผู้ให้ข้อมูล คือ แกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นเก่า แกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ภาคีเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นการพัฒนาเก็บข้อมูลด้วยการทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ แกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ชมรมผู้สูงอายุตำบลวังน้ำเขียว จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบก่อน-หลัง แบบประเมินทักษะ แบบประเมินคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม แนวทางการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ แบ่งเป็น 5 ด้าน คือ ผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประเภทของกิจกรรมการเรียนรู้และเนื้อหา วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและเทคโนโลยี และวิธีการวัดผลประเมินผล 2) นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ องค์ประกอบสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ 3) ผลการประเมินร่างนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ในภาพรวมเหมาะสมกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ( x̄= 4.85) และมีประโยชน์สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ (x̄ = 4.70) ในระดับมากที่สุด โดยองค์ประกอบของกิจกรรมการเรียนรู้มีความสอดคล้องกันโดยมีค่า IOC มากกว่า 0.50 4) ผลการทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ พบว่า คะแนนการประเมินผลทางด้านความรู้หลังเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มตัวอย่าง (x̄ =17.30) สูงกว่าคะแนนการประเมินผลด้านความรู้ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม (x̄ =12.75) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดผ่านเกณฑ์การประเมินและมีคะแนนอยู่ในระดับดี และผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด ผลการพิจารณาคำอธิบายสมรรถนะหลักและพฤติกรรมบ่งชี้ของแกนนำชมรมผู้สูงอายุ แบ่งเป็น สมรรถนะหลัก 5 ข้อ สมรรถนะในการบริหารสำหรับแกนนำชมรมผู้สูงอายุ 5 ข้อ และสมรรถนะตามตำแหน่งงานของผู้ปฏิบัติงาน 5 ข้อ และ 5) ผลการติดตามประเมินผล พบว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทจริงและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

The research and development to apply the action research methodology aimed to analyze and synthesize the elements of competencies and learning approach to support competencies among successors of senior citizen club leaders in Thailand in order to develop the learning innovation and monitor the results of applying the developed learning innovation. Research stage; data were collected using literature and good practices reviewed, and experts and stakeholders evaluation. Research tools consisted of document analysis form, in-depth interview form, focus group guideline and 5 rating scales evaluation form. Respondents were old leaders of senior citizen clubs, new leaders of senior citizen clubs: successors, members of senior citizen clubs, aged network (total of 60 persons) and experts and stakeholders (total of 20 persons). Data were analyzed by content analysis, mean, percentage, and standard deviation (SD). Development stage; the researcher used a trial learning innovation among the samples, which were 20 successors of Wang Nam Khiao Sub-district Senior Citizen Club. Research tools consisted of a pre-test and post-test questionnaire, a skills evaluation form, a behavioral characteristic evaluation form, and learning activity satisfaction form. Data were analyzed using basic statistics such as percentage, mean, and standard deviation.

           The results are as follows: 1) There are three elements of competencies of successors of senior citizen club leaders; (1) knowledge (2) skills, and (3) successors attribute. 2) Learning innovation for supporting competencies among successors of senior citizen club leaders can be divided into 4 categories; (1) elements of competencies of successors of senior citizen club leaders, (2) learning activity guideline, (3) learning activities, and (4) handbook for organizing learning activities for supporting competencies among successors of senior citizen club leaders. 3) According to the evaluation results of learning activities for supporting competencies among successors of senior citizen club leaders, experts found that by overall it was suitable for the participants (x̄= 4.85) and benefited them (x̄= 4.70) at the highest level. The learning activity elements were consistent with IOC value of more than 0.50. 4) Regarding the trial of learning innovation, it was found that the evaluation score of knowledge after activity participation of the samples was (x̄ =17.30), which is higher than the evaluation score of knowledge before activity participation (x̄ =12.75) with a significance level of .05 All the samples passed the evaluation criteria and had the scores at very good level. The samples were satisfied with the learning activities at the highest level. The samples and researcher together defined core competencies and indicative behaviors as follows; (1) five core competencies, (2) five managerial competencies, and (3) five functional competencies. 5) Regarding to the evaluation results of monitoring, it was found that the developed learning innovation was suitable and practical in the actual context.

Author Biography

ระวี สัจจโสภณ, อาจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Downloads

Published

2017-12-19

How to Cite

สัจจโสภณ ร. (2017). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่. Journal of Education Studies, 45(1), 194–210. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/106112