กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยการทัพอากาศตามแนวคิดการเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำระดับยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศ
Keywords:
การบริหารงานวิชาการ, สมรรถนะผู้นำระดับยุทธศาสตร์, กลยุทธ์, ACADEMIC MANAGEMENT, STRATEGIC-LEVEL LEADER'S COMPETENCY, STRATEGYAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะผู้นำระดับยุทธศาสตร์ 2) วิเคราะห์สภาพทั่วไปของการบริหารงานวิชาการ และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยการทัพอากาศตามแนวคิดการเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำระดับยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงพรรณนารูปแบบผสมผสาน (Mix Methodology) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามสำหรับประเมินสมรรถนะผู้นำระดับยุทธศาสตร์ของนักศึกษาวิทยาลัยการทัพอากาศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การสนทนากลุ่มผู้สำเร็จการศึกษา การตอบแบบสอบถามปลายเปิดของนักศึกษาปัจจุบัน และการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาตามแนวทางรับราชการทั้งในระดับนโยบาย ระดับอำนวยการ และระดับปฏิบัติการ สำหรับวิเคราะห์สภาพทั่วไปของการบริหารงานวิชาการที่เสริมสร้างสมรรถนะผู้นำระดับยุทธศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา งานวิจัยนี้ใช้วิธีกำหนดกลยุทธ์จากตาราง TOWS Matrix โดยนำผลการวิเคราะห์ SWOT, IFE Matrix, EFE Matrix, และ IE Matrix ตรวจสอบและประเมินกลยุทธ์ด้วยตาราง QSPM และผู้ทรงคุณวุฒิจากระดับนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ระดับอำนวยการการศึกษา และระดับปฏิบัติการสถานศึกษาของกองทัพอากาศ
ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า 1) นักศึกษาของวิทยาลัยการทัพอากาศมีค่าเฉลี่ยสมรรถนะผู้นำระดับยุทธศาสตร์โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ "ดี" โดยสมรรถนะด้านการแก้ปัญหาและตัดสินใจ และด้านทักษะบริหารเชิงยุทธศาสตร์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนสมรรถนะด้านภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2) สภาพทั่วไปของการจัดการศึกษาในปัจจุบัน ไม่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างการบริหารงานวิชาการของแต่ละสถานศึกษาและนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกองทัพอากาศในด้านเอกภาพของความพยายาม และเป้าหมายร่วมในการเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำ และผลผลิตไม่สอดคล้องกับความต้องการสมรรถนะการบริหารจัดการของบุคลากรกองทัพอากาศ 3) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยการทัพอากาศตามแนวคิดการเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำระดับยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศ มี 3 กลยุทธ์หลัก คือ (1) กลยุทธ์ผนึกกำลังทางวิชาการ (2) กลยุทธ์เสริมสร้างความเข้มแข็งทางการบริหารงานวิชาการ และ (3) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเชิงรุก
The purposes of this study were to study the strategic-level leader's competencies, to analyze general condition of academic management, and to develop academic management Strategy of the Air War college according to the concept of the strategic-level leader's competencies enhancement of Royal Thai Air Force. This is a mixed method research using both quantitative and qualitative approaches. The quantitative approach included a population of 72 current Air War college students. Questionnaires were used as the research instrument for strategic-level competencies assessment. Data were analyzed by analysis of frequency, percentage, and mean. The qualitative approach included focus group, open-end questionnaires, and deep interviews were used for analyze the academic management environment. This research determined strategies by the table of TOWS Matrix from the results of SWOT analysis, IFE/EFE Matrix, and IE Matrix. The strategies were reviewed and evaluated by a panel of experts and persons using the strategies from Department of human development, Department of education, and academic administrator.
The research results showed that: 1) The level in strategic-level leader's competencies of Air War college students were overall at a high level, as Vision and Strategic Management skills were on the highest level and strategic leadership was on the least level. 2) General condition of current academic management did not comply with the requirements of performance management of Air Force. 3) The academic management strategy of the Air War college according to the concept of the strategic-level leader's competencies enhancement of Royal Thai Air Force , consisted of 4 major strategies: (1) Synergies in academic (2) Strengthening the academic management (3) Proactive academic management.