การบริหารจัดการคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในทศวรรษหน้า

Authors

  • นิภาภรณ์ คำเจริญ
  • อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, อาจารย์ ดร.
  • พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

การบริหารจัดการ, คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ, ADMINISTRATION, FACULTY OF EDUCATION IN RAJABHAT UNIVERSITIES

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพ และปัญหาของการบริหารจัดการคณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) นำเสนอกลยุทธ์ในการบริหารจัดการคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร 9 คน คณาจารย์ 300 คน นักศึกษา 398 คน และผู้ใช้บัณฑิต 115 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ผลการวิเคราะห์สภาพ และปัญหาในการบริหารจัดการที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุด คือ ด้านระบบ พบว่า ควรมีการจัดการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย
ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุด คือ ด้านรูปแบบการบริหาร พบว่า ผู้บริหารควรมีความเสียสละ ทุ่มเททำงานเพื่อคณะอย่างเต็มที่ ส่วนผลการประเมินความต้องการจำเป็นด้านการเรียนการสอนที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุด คือ อาจารย์ผู้สอนต้องมีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาที่สอน และผลการประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุด พบว่า บัณฑิตต้องมีความซื่อสัตย์
สำหรับด้านกลยุทธ์การบริหารจัดการนั้น พบว่า ควรมีกลยุทธ์ดังนี้คือ 1) ด้านโครงสร้าง ประกอบด้วยกลยุทธ์ในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของคณะ 2) ด้านกลยุทธ์ ประกอบด้วยการพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานของคณะ และการพัฒนาบุคลากร 3) ด้านระบบ ประกอบ ด้วยกลยุทธ์การส่งเสริมด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คุณภาพบัณฑิต และการประกันคุณภาพการศึกษา และ 4) ด้านบุคลากร ประกอบด้วยกลยุทธ์การบริหารงานบุคคล การสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และการพัฒนาศักยภาพ

The objectives of this research were 1) to analyze the current situation and problems of the administration of the Faculty of Education in Rajabhat Universities, 2) to evaluate the needs assessment of the administration of the Faculty of Education in Rajabhat Universities, and 3) to present the strategies of the administration of the Faculty of Education in Rajabhat Universities. The samples were was composed of 9 executives, 300 faculty members, 398 students and 115 employers. The research tools were consisted of interviews and needs assessment questionnaires. The collected data were tested by using content analysis, percentage, mean and median.
The result of the analysis of the current situation and problems of the administration that indicated a high quality was of the system of teaching and of the qualifications framework for higher education of in Thailand.
The result of the needs assessment of the administration that has indicated a high quality was of the style of the administrators should have making the proper sacrifice. The result of the needs assessment of the teaching that indicated a high quality was the knowledge and specialization of the teachers and the result of the needs assessment of the employers that has indicated a high quality level was of the loyalty of the graduates.
This research has identified the strategies of the administration of Faculty of Education that consisted of four areas of the strategy: 1) the structure that consisted of the improvement of for the administrational structure strategy, 2) the strategy that consisted of the administration development strategy and faculty members’ development strategy, 3) a system that consisted of the improvement of the course, learning management system, quality of graduates and educational quality assurance, and 4) staff that consisted of the personnel management, the encouragement and the ability.

Author Biographies

นิภาภรณ์ คำเจริญ

นิสิตปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, อาจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-12-19

How to Cite

คำเจริญ น., หงษ์ศิริวัฒน์ อ., & พลสารัมย์ พ. (2017). การบริหารจัดการคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในทศวรรษหน้า. Journal of Education Studies, 45(1), 121–137. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/106098