การพัฒนาระบบการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นหลักที่มีการเสริมศักยภาพการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอภิปัญญา
Keywords:
การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นหลัก, การคิดแบบอภิปัญญา, การเสริมศักยภาพการเรียนรู้, คุณภาพของเครื่องมือ, PROBLEM BASED LEARNING, METACOGNITION, SCAFFOLD, QULITY OF EVALUATION MEASUREMENTAbstract
งานวิจัยฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นหลักที่มีการเสริมศักยภาพการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอภิปัญญา เพื่อนำไปใช้เป็นรูปแบบในการพัฒนาระบบช่วยสอนของบทเรียนวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐานและการโปรแกรม สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในวิธีการดำเนินงานผู้วิจัยได้ทำการสังเคราะห์กรอบแนวคิด แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 ท่านทำการประเมิน จากนั้นสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และโจทย์ที่เป็นสถานการณ์ของบทเรียนจำนวน 6 สถานการณ์ พร้อมกับเกณฑ์การให้คะแนนในแบบ Rubric score ส่วนของการพัฒนาระบบใช้ภาษา HPH และ MySQL เป็นฐานข้อมูลสำหรับการจัดการภายใน และแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจและแบบประเมินคุณภาพของเครื่องมือ(แบบทดสอบ) ผลจากการดำเนินงานพบว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นปัญหาเป็นหลักที่มีการเสริมศักยภาพการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอภิปัญญาผ่านการสังเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 ท่าน ประเมินความเหมาะสมให้อยู่ในระดับดี ส่วนความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับเนื้อหาด้วยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านมีทั้งสิ้น 33 วัตถุประสงค์ ไม่ผ่าน 1 วัตถุประสงค์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์จำนวน 152 ข้อ ค่า IOC ยอมรับได้ตั้งแต่ 0.6 ขึ้นไปมีจำนวน 144 ข้อโจทย์ปัญหาทั้ง 6 สถานการณ์ มี 25 ข้อคำถาม ค่า IOC ที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 23 ข้อ ไม่ผ่าน 2 ข้อ ผู้วิจัยทำการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะเพื่อให้ได้โจทย์ครบจำนวน การวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย อำนาจจำแนก และความเชื่อมั่น ทดสอบนักเรียนจำนวน 30 คนพบว่า ข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์ของค่าความยากง่ายมีจำนวน 134 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกมีข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 121 ข้อ และค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบอยู่ที่ 0.92
This research aimed to develop problem based learning system with scaffold to emphasize metacognitive strategies in order to be used as a prototype for developing Basic Computer and Programing lesson of Information and Production Technology Management Department, King Mongkut’s Unversity of Technology North Bangkok. Conceptual framework was created and the evaluation form was sent to 10 experts. An achievement evaluation form and questions related to 6 scenarios were created and measured by Rubic scoring. For the development of HPH and MySQL to be used as an internal database, satisfaction questionnaire and quality evaluation form were used as a research tool.
The results of evaluations from 10 experts showed that a problem based learning system with scaffold to emphasize metacognitive strategies has appropriateness in the good level. The consistency between the objective and content of the lesson was evaluated by 5 experts. There was only one out of thirty-three objectives that didn’t pass. In the achievement evaluation form containing 152 questions, there were 144 questions that had acceptable IOC value more than 0.6. There were 25 questions related to 6 scenarios, 23 questions had IOC in pass level and 2 questions didn’t pass. Therefore, the researcher adapted the questions according to suggestions in order to get the complete number of questions. The difficulty, discrimination and reliability analysis were done by 30 students. The results demonstrated that 134 questions pass the difficulty and 121 questions pass the discrimination with the reliability level at 0.92.