การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการเขียนโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัย ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • เฉลิมลาภ ทองอาจ
  • วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
  • สมพงษ์ จิตระดับ, ศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญา, กลยุทธ์พุทธิปัญญา, กลยุทธ์อภิญญา, การเขียนรายงานการวิจัย, กระบวนการเขียน, COGNITIVE PROCESS THEORY OF WRITING, COGNITIVE STRATEGIES, METACOGNITIVE STRATEGIES, RESESRCH PAPER, WRITING PROCESS

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการเขียนโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบฯ โดยเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในภาพรวมและรายด้านหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 70 คน ผู้วิจัยทดลองใช้รูปแบบฯ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน และเกณฑ์การประเมินระดับความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัย และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเขียนรายงาน การวิจัยโดยใช้สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบฯ มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ 1) หลักการมี 5 ประการ 2) วัตถุประสงค์ คือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัย 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน มี 4 ขั้น คือ ขั้นเตรียมประเด็นและวางแผนการเขียน ขั้นค้นคว้าข้อมูลและเขียนประเด็นความคิด ขั้นเขียนขยายความคิดและทบทวนความคิด และขั้นไตร่ตรองกระบวนการเขียนรายงานการวิจัย และ 4) การวัดและประเมินผล ใช้การวัดและประเมินจากการพิจารณารายงานการวิจัยของนักเรียนหลังการเรียน 2. ประสิทธิภาพของรูปแบบฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยของนักเรียนที่เป็นกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The objectives of this study were to 1) develop an instructional model by using cognitive process theory of writing cooperating with cognitive with cognitive and metacognitive strategies to enhance lower secondary students’ writing ability in writing research paper, and 2) evaluate the effectiveness of the developed instructional model by comparing research writing ability of students who were instructed by the developed model to those students who were instructed by the regular instructional method. This research study observed a total number of 70 students who currently enrolled in grade 8 of the Chulalongkorn University Demonstration Secondary School. Data were collected using 2 assessment tools namely; a research paper evaluation inventory and research paper grading rubrics. Data were statistically analyzed for the average and standard deviation values. The significant difference in research paper writing ability in both groups of samples was analyzed using t-test. Key research results can be summarized as follow: 1) An instructional model consists of 4 main elements including 1.1) 5 principles of the developed model, 1.2) objective of the developed model was to enhance students’ research writing ability, 1.3) 4 steps of the developed instructional model were 1.3.1) planning and development of topic of writing, 1.3.2) literature review and synthesis of the main idea of writing, 1.3.3) expansion of ideas for writing and revising ideas, 1.3.4) revision and reflection of the writing process, and 1.4) evaluation of the developed model using the levels of research writing ability which were obtained from the research paper evaluation inventory. 2) Research writing ability of experimental groups was significantly higher than the research writing ability of the control group with the significant level of 0.05.

Author Biographies

เฉลิมลาภ ทองอาจ

นิสิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตร และการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมพงษ์ จิตระดับ, ศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและ การสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-12-19

How to Cite

ทองอาจ เ., คงเผ่า ว. ว., & จิตระดับ ส. (2017). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการเขียนโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัย ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Education Studies, 45(1), 18–35. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/106081