ความต้องการในการเรียนรู้ความฉลาดทางจริยธรรมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง

Authors

  • อภิรดี ผลประเสริฐ
  • วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา
  • ภัทรพล มหาขันธ์

Keywords:

มรรคมีองค์แปด, นีโอฮิวแมนนิส, ความฉลาดทางจริยธรรม, เยาวชนกลุ่มเสี่ยง, THE NOBLE EIGHTFOLD PATH, NEO-HUMANIST, MORAL INTELLIGENCE, AT-RISK JUVENILES

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความต้องการในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางจริยธรรมตามแนวคิดมรรคมีองค์แปดและแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสโดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางจริยธรรมตามแนวคิดมรรคมีองค์แปดและแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการอย่างแท้จริงของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง และนำแนวคิดที่ได้มาเป็นข้อมูลในการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดมรรคมีองค์แปดและแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางจริยธรรมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในขั้นตอนต่อไป กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนอาชีวศึกษา ระดับปวช. จำนวน 400คน ในสถาบันการอาชีวศึกษา กลุ่มเสี่ยง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 10 สถานศึกษา โดยใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จากจำนวนนักเรียนอาชีวศึกษา ระดับปวช.ทั้งหมดในสถาบันการอาชีวศึกษากลุ่มเสี่ยง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 21 สถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสำรวจความต้องการในการเรียนรู้ความฉลาดทางจริยธรรม การวัดผลและประเมินผลเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการสำรวจข้อมูลพบว่า ประเด็นที่เยาวชนกลุ่มเสี่ยงกลุ่มตัวอย่างมีความต้องการในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางจริยธรรมในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าเยาวชนกลุ่มเสี่ยงมีความต้องการเรียนรู้ ด้านความเป็นธรรมมากที่สุดรองลงมาคือด้านความเคารพ และด้านการควบคุมตนเองตามลำดับ

The purpose of this research was to study the needs to strengthen the moral intelligence for at-risk juveniles based on the concepts of the noble eightfold path and neo-humanist. The results of the learning needs analysis were to develop a non-formal educational program to enhance moral intelligence for at-risk juveniles. The samples were 400 vocational students from 10 at-risk vocational schools under the twenty-one at-risk vocational schools from the Office of the Vocational Education Commission and the Office 0f the Private Education Commission in Bangkok. The quantitative research data was gathered with a questionnaire including the seven essential virtues of moral intelligence. The measurement and evaluation was measured with a five-point scale. The statistical analysis was conducted by identifying the percentages, mean, standard deviation and content analysis. The research findings were as follows: the moral intelligence learning needs of at-risk juveniles in the study were at a high level. It was shown that the highest need was for fairness followed by respect and self-control.

Author Biographies

อภิรดี ผลประเสริฐ

นิสิตดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา

สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภัทรพล มหาขันธ์

สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต ภาควิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์และสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Downloads

Published

2017-12-19

How to Cite

ผลประเสริฐ อ., ปทุมเจริญวัฒนา ว., & มหาขันธ์ ภ. (2017). ความต้องการในการเรียนรู้ความฉลาดทางจริยธรรมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง. Journal of Education Studies, 44(4), 231–245. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/106015