การพัฒนาวิธีการสอนแบบสืบเสาะเพื่อฝึกทักษะผู้เรียนให้สอดคล้อง กับความต้องการของสถานประกอบการและสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา

Authors

  • อนุชาติ ศรีศิริวัฒน์, รองศาสตราจารย์ ดร.
  • พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
  • ภาณี น้อยยิ่ง, อาจารย์ ดร.
  • สมศักดิ์ แก้วพันธ์

Keywords:

วิธีสอนแบบสืบเสาะ, วงจรการเรียนรู้ 5 E, INQUIRY TEACHING APPROACH, 5E LEARNING CYCLE MODEL

Abstract

งานวิจัยนี้พัฒนาวิธีการสอนแบบสืบเสาะด้วยกิจกรรมแบบวงจรการเรียนรู้ 5E เพื่อฝึกทักษะการพูด การเขียน และการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนช่างอุตสาหกรรม ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ซึ่งสำรวจจากการสัมภาษณ์สถานประกอบการจำนวน 20 แห่ง และสถานศึกษาจำนวน 18 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการเรียนการสอนแบบสืบเสาะ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบประเมินทักษะการพูด การเขียน และการทำงานเป็นทีม และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ประชากรคือผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีที่ 2 จำนวน 23 คน ในวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม แผนกไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี งานวิจัยนี้ได้แสดงผลการประเมินทักษะทั้งสามด้านแบบรูบิค ซึ่งทักษะการพูดและการเขียนของผู้เรียนส่วนใหญ่อยู่ระดับพอใช้ ในขณะที่ทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนส่วนใหญ่อยู่ระดับดี ผลการประเมินความรู้แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนของวิธีแบบสืบเสาะสูงกว่าวิธีแบบปกติที่ระดับนัยสำคัญ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนการสอนแบบสืบเสาะระดับมาก

This research developed the inquiry teaching approach in the perspective of the 5E learning cycle model for training vocational student’s skills of speaking, writing and teaming corresponding to the requirements of industrial companies and vocational colleges that were surveyed through interviews with 20 industrial companies and 18 vocational colleges. The research tools were compriseed of the manual for inquiry-based learning, pre- and post- tests, rubric scores for assessing speaking, writing and teaming skills, and the satisfaction assessment form. The population included 23 second year-students studying for the degree of high vocational certificate of Electrical Power program, Phetchaburi Technical College. This research showed the results of the three skills assessment using the rubric scores showing that most of the students had speaking and writing skills at the moderate level, whereas most of the students had teaming skills at the high level. In addition, the results showed that the average score of the post-test in the inquiry-based leaning was higher than that in the traditional didactic instruction with a statistical significance level of .05. By using questionnaires, the students’ satisfaction for the inquiry-based learning was in the high level.

Author Biographies

อนุชาติ ศรีศิริวัฒน์, รองศาสตราจารย์ ดร.

ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

ศูนย์วิจัยไฟฟ้าและระบบควบคุมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ภาณี น้อยยิ่ง, อาจารย์ ดร.

ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สมศักดิ์ แก้วพันธ์

แผนกไฟฟ้ากำลัง   วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี

Downloads

Published

2017-12-19

How to Cite

ศรีศิริวัฒน์ อ., โกษียาภรณ์ พ., น้อยยิ่ง ภ., & แก้วพันธ์ ส. (2017). การพัฒนาวิธีการสอนแบบสืบเสาะเพื่อฝึกทักษะผู้เรียนให้สอดคล้อง กับความต้องการของสถานประกอบการและสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา. Journal of Education Studies, 44(4), 218–230. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/106000