การพัฒนากิจกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการบวก ลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD

Authors

  • สุริยัน เขตบรรจง

Keywords:

การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD, การบวกลบเศษส่วน, THE COOPERATIVE LEARNING USING STAD METHOD, THE ADDITION AND SUBTRACTION OF FRACTION

Abstract

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การบวก ลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการบวกลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ระหว่างหลังเรียนและก่อนเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การบวก ลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดประชุมราษฎร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 24 คน ที่เรียนคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้มาจากการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กิจกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการบวก ลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการบวก ลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที แบบไม่อิสระที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการบวก ลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.92)

The objectives of this study were: 1) For the researcher to develops learning activities for selected Prathom Sueksa Six students on addition and subtraction of fractions using the Student Team Achievement Division (STAD) method with the goal of satisfying the 80/80 criterion; 2) For the researcher to compare the academic achievement in mathematics of these students on the addition and subtraction of fractions using the STAD method prior to and after the study; and 3) For the researcher to determine the levels at which these students felt satisfied with these learning activities using the STAD method. The sample population consisted of 24 Prathom Sueksa Six students enrolled in the first semester of the academic year 2014 at Wat Prachumrat School under the jurisdiction of Pathum Thani Primary Education Service Area Office Two by Simple Random Sampling.
The findings are as follows: 1) The learning activities for these students satisfied the efficiency standard of 80/80. 2) The academic achievement of the students after the study was higher than prior to the study; the t test for dependent samples were at the statistically significant level of .01. 3) The level of student satisfaction with the learning activities of the students were overall at the highest level (4.92).

Author Biography

สุริยัน เขตบรรจง

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาคณิตศาสตร์ศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Downloads

Published

2017-12-19

How to Cite

เขตบรรจง ส. (2017). การพัฒนากิจกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการบวก ลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD. Journal of Education Studies, 44(4), 206–217. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/105991