การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา

Authors

  • อาจารี สุวัฒนพงษ์
  • วลัยพร ศิริภิรมย์
  • พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Keywords:

การคิดเชิงวิพากษ์, ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์, การเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์, CRITICAL THINKING, CRITICAL THINKING SKILLS, ENHANCE CRITICAL THINKING SKILLS

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา (2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องกลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 342 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ผู้อำนวยการ หรือรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ครู และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNIModified
ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ และการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษารายด้าน พบว่า ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ประกอบด้วย 6 ทักษะ ได้แก่ การวิเคราะห์ การตีความ การประเมินผล การอนุมาน การอธิบาย และการตรวจสอบแก้ไขตนเองได้ มีความเหมาะสมทุกด้าน และการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ประกอบด้วย 2 แนวทาง ได้แก่ กำหนดรายวิชาสอนการคิดเชิงวิพากษ์เป็นการเฉพาะ และกำหนดให้สอนการคิดเชิงวิพากษ์สอดแทรกในรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีความเหมาะสม สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การนิเทศการศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันทุกด้าน และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียน คือด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ค่าสูงที่สุด คือการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และค่าต่ำที่สุด คือการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียน

The purposes of this research were: (1) to evaluate the framework of critical thinking skills and to enhance critical thinking skills, and (2) to study the current and desirable states of academic management strategies to enhance the critical thinking skills of secondary school students. This study was part of academic management strategies to enhance the critical thinking skills of secondary school students. The sample population of the study comprised 342 secondary schools under the jurisdiction of the Office of Secondary Educational Service Area. The research instruments were an evaluation form to assess the suitability and feasibility of the critical thinking skills and enhancement of the critical thinking skills of secondary school students and questionnaires. The data were analyzed by frequency, percentage, average, standard deviation and index PNIModified
The research findings showed that the framework of critical thinking skills and to enhance the critical thinking skills of secondary school students is appropriate. The current states of academic management to enhance the critical thinking skills of secondary school students as a whole were rated at the moderate level. The aspect of supervision was rated at the highest level, while the lowest average score was the instructional management in school. As for the desirable conditions, it turned out that all the aspects had higher average scores as compared to the current state. They all appeared at the high level. The aspect with the highest average score was the instructional management in school, while the aspect with the lowest average score was the curriculum development in school. The highest PNIModified of academic management to enhance the critical thinking skills of secondary school students was the instructional management in school and the lowest score was curriculum development in school.

Author Biographies

อาจารี สุวัฒนพงษ์

นิสิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วลัยพร ศิริภิรมย์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์  

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-12-18

How to Cite

สุวัฒนพงษ์ อ., ศิริภิรมย์ ว., & ศิริบรรณพิทักษ์ พ. (2017). การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา. Journal of Education Studies, 44(4), 280–293. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/105909