ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อเสริมสรางคุณลักษณะที่พึงประสงคของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ของคณะครุศาสตรและคณะศึกษาศาสตร์
Keywords:
ยุทธศาสตร์การบริหาร, คุณลักษณะที่พึงประสงค์, นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, MANAGEMENT STRATEGIES, DESIRABLE CHARACTERISTICS, BACHELOR’S DEGREE STUDENTS, FACULTY OF EDUCATIONAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตของคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ 2) วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามในการบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตของคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ 3) พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตของคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ เก็บข้อมูลจากผู้บริหารและคณาจารย์ของคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกประเด็น 2) กิจกรรมการบริหารด้านการวางแผนส่วนมากมีสภาพเป็นจุดแข็งในการบริหาร ในขณะที่กิจกรรมการบริหารด้าน การประเมินผลส่วนมากมีสภาพเป็นจุดอ่อนในการบริหาร สภาพแวดล้อมภายนอกด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีส่วนมากมีสภาพเป็นภาวะคุกคามต่อการบริหาร 3) ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตของคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลัก 7 ยุทธศาสตร์ และยุทธศาสตร์รอง 14 ยุทธศาสตร์
The purposes of this study were 1) to study the current and desirable states of management for enhancing the desirable characteristics of undergraduate students from the Faculty of Education, 2) to analyze strengths, weaknesses, opportunities and threats in management for enhancing desirable characteristics of undergraduate students from the Faculty of Education, and 3) to develop management strategies for enhancing desirable characteristics of undergraduate students of the Faculty of Education. The data were collected from 96 administrators and lecturers of the Faculty of Education. The tool used in this research was a questionnaire. Statistical analysis used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation and PNImodified
The results showed that: 1) The average desirable state of management were higher than the current state in all aspects; 2) the majority of planning activities were strengths in management whereas the majority of evaluation activities were weaknesses in management. The majority of the external factors including politics, the economy, society and technology were threats towards management; and 3) management strategies for enhancing the desirable characteristics of undergraduate students from the Faculty of Education comprised 7 main strategies and 14 sub strategies.