การพัฒนารูปแบบการเรียนตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสุขภาพสำหรับสังคมไทย

Authors

  • ยอดชาย สุวรรณวงษ์
  • มนัสวาสน์ โกวิทยา
  • เกียรติวรรณ อมาตยกุล

Keywords:

รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต, วัฒนธรรมสุขภาพ, หมู่บ้านจัดการสุขภาพ, LIFELONG LEARNING MODEL, HEALTH CULTURE, HEALTH MANAGEMENT VILLAGE

Abstract

การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสุขภาพสำหรับสังคมไทย จากการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาพและกระบวนการทางวัฒนธรรมของหมู่บ้านจัดการสุขภาพต้นแบบ 4 หมู่บ้าน ในสี่ภาคของประเทศไทย
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสุขภาพสำหรับสังคมไทย ประกอบด้วย 5 หลักการ และ 4 องค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ 5 ประการ ได้แก่ ความตระหนักรับผิดชอบต่อสุขภาพ, บูรณาการสุขภาพเข้ากับความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต, มีการเรียนรู้อย่างอิสระบนหลักประชาธิปไตย, สอดคล้องกับวิถีท้องถิ่น, และสร้างกระแสสุขภาพในสังคมอย่างต่อเนื่อง และ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. แรงขับเคลื่อนการเรียนรู้ด้านสุขภาพ 2. กระบวนการเรียนรู้ผ่านกุศโลบายท้องถิ่น ใน 7 ขั้น โดยเริ่ม 1) จากการรับรู้ความต้องการเป้าหมาย, 2) การแสวงหาความรู้ที่ชอบ, 3) การกลั่นกรองความรู้ที่ใช่, 4) การตัดสินใจเลือกให้ถูก, 5) การเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากความรู้, 6) การตรวจสอบและประเมินตนเอง, และ 7) แลกเปลี่ยนให้สืบทอด 3. คุณค่าของวิถีท้องถิ่นในด้านภูมิปัญญาและหลักการสุขภาพชุมชน และ 4. โครงสร้างและเงื่อนไขทางสังคม

The objective of this mix-method research was to develop a Lifelong Learning Model to enhance a health culture for Thai society. The model was developed by analyzing the learning process for health management and the health culture process of the best practices in health management of 4 villages in four different regions of Thailand.
The result found that the Lifelong Learning Model to Enhance Health Culture for Thai Society consisted of 5 main principles and 4 components. The principles of lifelong learning for health accepted in 5 concepts which included having self-awareness and responsibility for health, all for health, learning about democratic principles, learning by harmony with the way of life, and surveillance of and monitoring of the current health trends. The components of lifelong learning for health consisted of 4 parts: 1. health motivation; 2. the traditional learning pattern of culture community consisting of 7 steps as follows: 1) Understanding the goals, 2) Needs assessment, 3) identify learning needs, 4) consideration of receiving or rejecting the health learning process, 5) taking advantage of existing expertise and experience, 6) self-evaluation 7) and sharing and Knowledge Integrating; 3. the value of local wisdom and health concepts; and 4. social structures and social conditions.

Author Biographies

ยอดชาย สุวรรณวงษ์

สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มนัสวาสน์ โกวิทยา

สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เกียรติวรรณ อมาตยกุล

สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-12-18

How to Cite

สุวรรณวงษ์ ย., โกวิทยา ม., & อมาตยกุล เ. (2017). การพัฒนารูปแบบการเรียนตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสุขภาพสำหรับสังคมไทย. Journal of Education Studies, 44(4), 96–114. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/105875