การพัฒนากลยุทธ์การสร้างคุณค่าสำหรับหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย

Authors

  • กฤษณะ บุหลัน
  • พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
  • พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Keywords:

กลยุทธ์, การพัฒนา, การสร้างคุณค่า, หลักสูตร, รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, STRATEGY, DEVELOPMENT, VALUE CREATION, PROGRAM, DOCTORAL DEGREE IN PUBLIC ADMINISTRATION

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบและตัวบ่งชี้คุณค่าของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย วิเคราะห์คุณค่าของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย และพัฒนากลยุทธ์การสร้างคุณค่าสำหรับหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนิสิต/นักศึกษา ดุษฎีบัณฑิตและอาจารย์ประจำในหลักสูตรของ 3 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยเกริก โดยมีประชากร ทั้งสิ้น 280 คน ซึ่งแบ่งออกตามสถาบันซึ่งมีประชากรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 94 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 79 คน และมหาวิทยาลัยเกริก จำนวน 107 คน ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยกำหนดกรอบ และตัวบ่งชี้คุณค่าของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย และวิเคราะห์การบูรณาการแนวคิดห่วงโซ่คุณค่าและแนวคิดดัชนีชี้วัดแบบสมดุลจากเอกสาร พบว่าได้ตัวบ่งชี้เชิงคุณค่าทั้งหมด 18 ตัวบ่งชี้ นอกจากนี้ยังพบว่าการวิเคราะห์คุณค่าสำหรับหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทยทั้ง 3 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยเกริก พบว่า การประเมินอยู่ในเกณฑ์ดี และพอใช้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนการพัฒนาหลักสูตรควรกำหนดให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของสังคมภายนอก แต่ต้องไม่ทำให้อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยหายไป โดยเฉพาะปี ค.ศ.2015 ประเทศไทยจะก้าวสู่บริบทของประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัว นอกจากนั้นนำผลการวิเคราะห์คุณค่าของหลักสูตรมาทำการวิเคราะห์สว๊อตและ ทาวน์เมตทริก เพื่อกำหนดกลยุทธ์การสร้างคุณค่าสำหรับหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย ซึ่งพบว่า ทั้ง 3 สถาบันเป็นกลยุทธ์เชิงรุกหรือในสถานการณ์แบบดาวรุ่ง

This descriptive research aimed to analyze the development of value creation for the doctoral programs in Public Administration of higher education institutions in Thailand by using questionnaires with 260 persons. The data were statistically analyzed by frequency, percentage, mean and content analysis.
The results have shown that the key indicators of value for the doctoral program in Public Administration of higher education institutions in Thailand are comprised 18 items. In addition to analyzing the value creation for the doctoral programs in Public Administration of higher education institutions (Ramkhamhaeng University, Suan Dusit University and Kirk University) in Thailand, it has been found that there they are mostly at a good and medium level of quality. Besides, the value creation for the doctoral programs in Public Administration of higher education institutions in Thailand should be set to correspond with the ASEAN context in 2015. Value Creation Strategies for Doctoral Programs in Public Administration have been in the Public Sector Star.

Author Biographies

กฤษณะ บุหลัน

สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์

สาขาสาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

สาขาสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-12-17

How to Cite

บุหลัน ก., พลสารัมย์ พ., & ศิริบรรณพิทักษ์ พ. (2017). การพัฒนากลยุทธ์การสร้างคุณค่าสำหรับหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย. Journal of Education Studies, 44(4), 14–30. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/105772