ความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา NEEDS ASSESSMENT OF PRIVATE SCHOOL ACADEMIC MANAGEMENT BASED ON DIGITAL INTELLIGENCE CONCEPT OF PRIMARY SCHOOL STUDENTS

Main Article Content

พวงสุรีย์ วรคามิน
นันทรัตน์ เจริญกุล
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนที่จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 345 โรงเรียน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลในแต่ละหน่วยตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอนรวมทั้งสิ้น 1,725 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยได้รับแบบสอบถามคืนมาคิดเป็นร้อยละ 79.42 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวม ลำดับความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษาที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร รองลงมาคือ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามลำดับ ผลประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบด้านอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา รายด้าน พบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการที่มีความต้องการจำเป็นตรงกัน 2 ด้าน เป็นอันดับแรก คือ ความปลอดภัยในโลกดิจิทัล  ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการที่มีความต้องการจำเป็นตรงกัน 2 ด้าน เป็นอันดับสอง คือ ความฉลาดทางอารมณ์ในโลกดิจิทัล และ การรู้เท่าทันสื่อในโลกดิจิทัล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2544). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจทางการบริหารและ

การจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

นภาวรรณ อาชาเพ็ชร. (2560). การรังแกผ่านโลกไซเบอร์ ความรุนแรงที่ต้องแก้ไข และนวัตกรรมการจัดการ

ปัญหา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(1), 100-106.

บุญรักษ์ ยอดเพชร. (2561). สพฐ.ลุยปรับหลักสูตรสถานศึกษารับ 4.0. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563, จาก

https://www.thairath.co.th/news/local/1287037

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จํากัด.

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ทางการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). ชลบุรี:

สํานักพิมพ์มนตรี.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สํานักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. (2561). รายงานพิเศษ : สํารวจพฤติกรรมออนไลน์ เด็กไทยเสี่ยงภัยออนไลน์.

ค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2562, จาก http://thainews.prd.go.th/th/website_th/news/news_detail/TNICT6103230010002

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2557). คู่มือ

แนวทางปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ภาคประชาชน. กรุงเทพฯ: บริษัท วี พริ้นท์ จำกัด.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต 2. กรุงเทพมหานคร: กระทรวง

ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561. กรุงเทพมหานคร:

กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุค

ดิจิทัล. กรุงเทพฯ: บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด.

สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ.

–2564. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

อดิศักดิ์ ภาณุพงศ์. (2561). ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน “สื่อลามกเด็ก” อาชญากรรมใต้ดิน ยุคไซเบอร์. ค้นเมื่อ 11

กรกฎาคม 2562, จาก https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_1236480

อุทัย บุญประเสริฐ. (2540). หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการโรงเรียน. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิช.

อุดม คชินทร. (2561). สช.เชื่ออีก 20 ปี เอกชนพลิกสถานการณ์การศึกษาไทย คาดแบ่งจัดการกับรัฐ 50:50.

ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2562, จาก https://www.isranews.org/isranews-pr-news/63422-education.html

DQ Institute. (2018). 2018 National DQ Impact Report : Thailand. ค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2562 จาก

https://www.dqinstitute.org/country-thailand/

European Commission. (2017). DigComp2.1 The Digital Competence Framework for Citizens.

European Union: Luxemberg Publications.

Park, Y. (2016). 8 digital skills we must teach our children. ค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2562 จาก

https://www.weforum.org/agenda/2016/06/8-digital-skills-we-must-teach-our-children.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductiry Analysis. New York: Harper and Row Publication.