โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำของครู ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในเขตเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิจัยและพัฒนาโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับภาวะผู้นำของครู ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตเมือง โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยคือ ศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำของครู ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตเมือง เพื่อพัฒนาโปรแกรมและประเมินผลการใช้โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำของครู ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตเมือง กำหนดวิธีการดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาภาวะผู้นำของครู ระยะที่ 2 การออกแบบ สร้างและประเมินนวัตกรรม (โปรแกรมฯ) ระยะที่ 3 การนำโปรแกรมการพัฒนาการพัฒนาภาวะผู้นำของครูไปใช้ ระยะที่ 4 การประเมิน และปรับปรุงนวัตกรรม โปรแกรมพัฒนาการพัฒนาภาวะผู้นำของครู
ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นการพัฒนาภาวะผู้นำของครูโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตเมือง เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ การเป็นผู้นำด้านการเรียนการสอน (PNIModified =0.17) การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (PNIModified =0.16) การมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน (PNIModified =0.16) และส่งเสริม และพัฒนาเพื่อนครูสู่มืออาชีพ (PNIModified =0.16) ผลการพัฒนาภาวะผู้นำของครูผู้สอนโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตเมือง หลังการพัฒนาภาวะผู้นำของครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตเมือง พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาภาวะผู้นำของครูด้านคู่มือการฝึกอบรมโดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.60, S.D. = 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ จุดประสงค์มีความชัดเจน (X= 4.69 , S.D. = 0.50 ) รองลงมาได้แก่ เนื้อหาสอดคล้องกับจุดประสงค์ (X= 4.64, S.D. = 0.56) เนื้อหาเหมาะสมกับผู้เข้ารับการอบรม (X= 4.59, S.D. = 0.55) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ สื่อประกอบการฝึกอบรมที่กำหนดไว้เหมาะสม ( X= 4.49, S.D. = 0.61)
สำหรับรูปแบบการพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำของครูในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตเมืองที่เหมาะสม มีส่วนประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 เนื้อหา ส่วนที่ 3 กิจกรรม และส่วนที่ 4 การประเมินผล โดยดำเนินการตามองค์ประกอบ 4 Module สุดท้ายคือ การตรวจสอบ กำกับ ติดตามและประเมินผลการพัฒนาโดยฝ่ายบริหารโรงเรียนโดยมีเงื่อนไขความสำเร็จประกอบด้วย 1) การพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ และ 2) ครูมีความสามารถด้านเทคโนโลยี