รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้อำนวยการโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 A Development Model of the Directors of the Buddhist Schools Under the Office of Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Are
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สร้าง ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ และเพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และแนวทางการนำรูปแบบไปใช้ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย การวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม 2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม 3) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ และ 4) การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมิน และแบบสัมภาษณ์ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 จำนวน 221 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้อำนวยการโรงเรียน แบ่งเป็น 5 ด้าน คือ ด้านความไว้วางใจ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความเคารพ ด้านความเป็นพลเมืองดี และด้านความยุติธรรม 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้อำนวยการโรงเรียน ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) แนวคิด หลักการกำกับรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ทั่วไป 3) กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้น คือ 3.1) ขั้นเตรียมการ 3.2) ขั้นการประเมินก่อนการพัฒนา 3.3) ขั้นพัฒนา 3.4) ขั้นประเมินหลังการพัฒนา และ 3.5) ขั้นการพัฒนาซ้ำ และ 4) แนวทางการนำรูปแบบไปใช้
This research aims to study, create a model of moral leadership and feasibility of the model, to present a model of moral leadership development. It also aims to implement guidelines and format using descriptive research methodology. The research consists of five steps: 1) the study of moral leadership of school director 2) the creation of a moral leadership development of school director, 3) the assessment of suitability and feasibility of implementing the format 4) the presenting of the model of moral leadership of school director, and 5) the implementing of the moral leadership development model. The instrument used in this study included questionnaire, assessment form, interview, appropriateness and the feasibility in the implementation. The samples consisted of 221 directors of Vitheebuddha schools under the Office of Primary Education Nakhon Ratchasima Area 5 and 12 specialized experts by sampling. The results showed that 1) the moral leadership of the school directors divided into 5 categories; fiduciary, responsibility, respect, good citizenship, and justice 2) forms of moral leadership development of the school directors consisted of four parts: 1) concept and corporate form 2) general purpose 3) the moral leadership development process of the school directors which consists of five stages: 3.1) preliminary 3.2) the assessment prior to development 3.3) development 3.4) assessment of post development and 3.5) iterative development, and 4) guidelines for the implementation of the format.