โมเดลเชิงพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผล โรงเรียนเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ The Multi–Level Model of Factor Influencing Effectiveness to Private School in North-East

Main Article Content

อนุปกรณ์ สมบัติมี
สมคิด สร้อยน้ำ
มัณฑนา อินทุสมิต

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ  เพื่อสร้างโมเดลแบบพหุระดับของปัจจัยระดับนักเรียน ระดับห้องเรียน และระดับโรงเรียนที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยศึกษาปัจจัย 3 ระดับ คือ  1) ปัจจัยระดับผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร  ภาวะผู้นำของผู้บริหาร   พฤติกรรมผู้นำทางวิชาการ   กระบวนการบริหาร วัฒนธรรมโรงเรียน  และ บรรยากาศโรงเรียน  2) ปัจจัยระดับครู  ประกอบด้วย พฤติกรรมการสอนของครู  บรรยากาศการเรียนการสอน   ความผูกพันต่อโรงเรียนของครู การสนับสนุนทางสังคมของครู และ  แรงจูงใจในการทำงานของครู  3) ปัจจัยระดับนักเรียน ประกอบด้วย  การส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง   ความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียน   แรงจูงใจในการเรียนของนักเรียน   พฤติกรรมการเรียนของนักเรียน   การใช้เวลาในการเรียนของนักเรียน  และ เจตคติต่อการเรียนของนักเรียน  ส่วนประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 4 ด้าน ประกอบด้วย  ความสามารถในการยืดหยุ่นปรับตัว  ความสามารถในการจัดการทรัพยากร ความพึงพอใจงานของครู  และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้โรงเรียนทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 โรงเรียน กำหนดโรงเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์ ทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร จำนวน 60 คน ครูผู้สอน  จำนวน 120 คน และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 สอบถามผู้บริหารโรงเรียน จำนวน  102  ข้อ  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .947   ฉบับที่ 2 สอบถามครูผู้สอน  จำนวน  76    ข้อ  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  .922  ฉบับที่ 3 สอบถามนักเรียน  จำนวน   71   ข้อ  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  .899  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ความถี่   ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  และการวิเคราะห์พหุระดับด้วยสมการถดถอย กรณีวิเคราะห์ 3 ระดับ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้  

              1. ประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประสิทธิผลโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด 

              2. ปัจจัยระดับนักเรียน พบว่า ความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียน   แรงจูงใจในการเรียนของนักเรียน    และ พฤติกรรมการเรียนของนักเรียน   การใช้เวลาในการเรียนของนักเรียน  และ เจตคติต่อการเรียนของนักเรียน  มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05  ตามลำดับ  มีประสิทธิภาพการทำนายได้ร้อยละ 25.53

              3. ปัจจัยระดับครู พบว่า  ความผูกพันต่อโรงเรียนของครู การสนับสนุนทางสังคมของ และ  แรงจูงใจในการทำงานของครู   มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05  ตามลำดับ   มีประสิทธิภาพการทำนายได้ร้อยละ 57.14  

               4. ปัจจัยระดับผู้บริหารโรงเรียน พบว่า บรรยากาศโรงเรียน มีอิทธิพลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และมีประสิทธิภาพการทำนายได้ร้อยละ 87.42   

            This research aimed to study the effectiveness level of the  Private School in the North East Thailand and, and to establish the Multi-level model of factors influence the effectiveness of the Private School in the North East Thailand which study on three levels; (1) Administrator consist of the vision, the leadership, the academic leader, the management process, the school culture and the school climate. (2) Teacher consists of the teaching behavior, the learning climate, the school engagement, the social supporting and the working motivation. (3) Students consist of the promotion from parent, the self-esteem, the learning motivation, the learning behavior, the learning time using and the learning attitude. The effectiveness of Private School were the flexibly adaption ability, the resource management ability, the teacher’s satisfaction in working and the student’s learning achievement. The sample was 60 schools; the key informant was 60 administrators, 120 teachers and 600 students who studying at sixth level of high school. The instrument was the questionnaire which was divided for three; (1) for administrators had 102 items with 0.947 of reliability, (2) for teachers had 76 items with 0.922 of reliability, and (3) for student had 71 items with 0.922 of reliability. Statistics were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson Product Moment correlation, and multilevel regression analysis. The research results found that;

            1. The effectiveness of the Private School in the North East Thailand as overall was at highest level.

            2.The students factors found that the self-esteem, the learning motivation, the learning behavior, the learning time using and the learning attitude influence the effectiveness of the Private School by statistical significant at .05 and .01 levels; these variable could predict for 25.53%

            3. The teacher factors found that the school engagement, the social supporting and the working motivation influence the effectiveness of the Private School by statistical significant at .05 and .01 levels; these variable could predict for 57.14%

            4. The administrator factor found that the school climate influence the effectiveness of the Private School by statistical significant at .05 and .01 levels; these variable could predict for 87.42 %

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

อนุปกรณ์ สมบัติมี, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สมคิด สร้อยน้ำ, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

รองศาสตราจารย์  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

มัณฑนา อินทุสมิต, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย