การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษาโรงเรียนเลยพิทยาคม Participatory Action Research on the Development of Quality

Main Article Content

จารุวัลฐ์ สุทธิสานนท์
ดมัณฑนา อินทุสมิต
สมาน นาวาสิทธิ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ 2)  เพื่อศึกษาความคาดหวังของการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ และ 4)  เพื่อศึกษาผลการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพของโรงเรียนเลยพิทยาคม โดยการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  ผู้ร่วมวิจัยคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 65  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  แบบบันทึกภาคสนาม  แบบสัมภาษณ์  แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง  แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม  แบบสังเกต  แบบบันทึกการประชุม  บันทึกอนุทิน  แบบสอบถามและ แบบประเมิน

                ผลการวิจัยพบว่า  สภาพโรงเรียนเลยพิทยาคม  เป็นโรงเรียนในโครงการมาตรฐานสากลที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น โรงเรียน Intensive School ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติทุกรายวิชา  มีการบริหารจัดการโรงเรียนด้วยระบบคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA)  ต้องเข้ารับการประเมินโดยคณะกรรมการจากส่วนกลางในหมวด 1-7 ภายในปีการศึกษา 2558  พบว่า โรงเรียนยังไม่ชัดเจนในด้านกระบวนการ  3  ปัญหาหลัก คือ  1) ปัญหาด้านการบริหารจัดการหลักสูตรเทียบเคียงมาตรฐานสากล  2) การจัดการเรียนการสอนของครูส่วนหนึ่งที่ยังทำการสอนแบบเดิม ๆ และ 3) ครูยังไม่คุ้นเคยกับการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ OBECQA   

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างมีความคาดหวังให้การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนมีความเป็นสากล และมีการเทียบเคียงมาตรฐานสากลมากขึ้น  ความคาดหวังในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก  มีทักษะ  ความรู้ความสามารถ  มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับเดียวกับมาตรฐานสากล และความคาดหวังในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากผลการสอบ O-NET เทียบเคียงกับโรงเรียนคู่เทียบ   

แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพของโรงเรียนเลยพิทยาคม  ยึดหลักการมีส่วนร่วม  ใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (OBECQA) โดยโรงเรียนนำคำถามของเกณฑ์มาแปลงเป็นกลไกในการพัฒนาการบริหารจัดการของโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศและได้มาตรฐานสากล โดยโรงเรียนได้ดำเนินโครงการ 4  โครงการ ได้แก่ 1) โครงการการประชุมปฏิบัติการ การจัดทำ กลยุทธ์ แผนปฏิบัติการและตัวชี้วัด 2) โครงการการประชุมปฏิบัติการการเขียนรายงานการบริหารจัดการโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวทางรางวัลคุณภาพแห่งสพฐ.(OBECQA)  3)โครงการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนบูรณาการแบบครบวงจรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) และโครงการการประชุมปฏิบัติการการทบทวนและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของบุคลากรโรงเรียนเลยพิทยาคม เพิ่มเติมจากแผนปฏิบัติการ เป็นผลทำให้โรงเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินทุกโครงการ

                ผลการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ พบว่า ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติหลายประการทั้งด้านความรู้และประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง คือ ได้ร่วมกันกำหนดวิธีการที่จะพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากหมวด 1-7 ด้วยเริ่มจากการจัดทำบริบทองค์กร (Organizational Profile) การนำเกณฑ์มาเทียบเคียงกับผลงานที่ดำเนินการแล้วจากเดิมการปฏิบัติงานโดยใช้วงจร PDCA  นำมาเชื่อมโยงจากผลงานที่ดำเนินการมาแล้วมาต่อยอดในหมวดกระบวนการของ OBECQA คณะครูมีความเข้าใจและสามารถเชื่อมโยงได้ ผลลัพธ์การดำเนินงานผ่านเกณฑ์การประเมินภาพรวมในระดับ 3  

            The research aimed to investigate 1) the present situations and problems of the quality system management 2) the expectations of  the quality system management 3) the approaches in managing development with the quality system management and 4) the result of the quality system management of Loeipittayakom school by using a participatory action research process. The co- researchers were 65 stakeholders. The research instruments were field notes, interviews, semi – structured interviews, focus group discussion, observation forms, minutes, diaries, questionnaires and assessment forms.

            The findings of the study were as follows :

            The current status of Loeipittayakom School has been selected as one of 65 schools to be the intensive school under the world – class standard school of the Ministry of Education. Due to the high capability and availability of school settings, the students perform higher scores than the national average in all subjects tested by The National Educational Testing (O-NET). Also, the school management system meets the Quality Award  for Basic Education Commission (OBECQA) that must be evaluated in Category 1-7 by the OBEC committee in academic year 2558. Three main problems are: 1) the problem of a benchmark with the world – class curriculum management 2) using traditional methods of instruction at school and 3) unfamiliarity with the quality management system OBECQA.

            The expectations of stakeholders showed an international curriculum should meet international standard. Participations in the quality system management, emphasizing highly competent and knowledgeable students, having required students’ distinctiveness, and students’ achievement of O-NET performance as a benchmark with peer schools are anticipated.

            The guidelines for the development of the quality system management of  Loeipittayakom school  focuses  on application of the criteria of the OBECQA to lead the school being an excellence school in terms of 4 substantial projects : 1) a workshop project including plans for meeting, procedure, strategy, action and indication 2) a workshop project to report managerial administration on excellence of the quality system management as the criteria of OBECQA 3) a workshop project to integrate the philosophy of Sufficiency Economy to teaching approaches 4) a workshop project to review and monitor individual workforce of Loeipittayakom school .

            The result of the quality system management found the researcher and co – researchers have learnt through various practical basis and direct experiences pertinent to the quality system under the Office of the Basic Education Commission Quality Award (OBECQA) Category 1- 7 starting with the organizational profile using PDCA model and a benchmark of the criteria of the quality system management sighting of the late outcomes. Teachers eventually comprehend and implement the management system into their fields resulting in Level 3. 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

จารุวัลฐ์ สุทธิสานนท์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ดมัณฑนา อินทุสมิต, คณะคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

สมาน นาวาสิทธิ์, คณะคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คณะคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย