ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง Factors Affective the Life Skills of Creative Problem Solving of the Secondary School Students in the Lower Northeastern Region

Main Article Content

ชลณา ทัศมาลี
วิชัย วงษ์ใหญ่
จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์
ศรุดา ชัยสุวรรณ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  (1) เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารโรงเรียน  ครู  ผู้ปกครองและนักเรียน  การวิเคราะห์ข้อมูล  หาค่าความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน      ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผัน  สัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการตรวจสอบความกลมกลืน ของแบบจำลองเชิงทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์  โดยโปรแกรมสำเร็จรูป  ผลการวิจัยพบว่า

                   1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  ประกอบด้วย  6  ปัจจัยได้แก่  ด้านโรงเรียน ด้านผู้บริหาร ด้านครูผู้สอน ด้านนักเรียน ด้านครอบครัว และ ด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคม 

                   2. ทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 

                   3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้แก่ ปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคม ทั้งสามตัวแปรนี้อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 69.00 (R2= 0.69)   มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                   4. แนวทางการพัฒนาปัจจัยด้านนักเรียน ด้านครอบครัว และด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคม ได้แก่ การพัฒนาความสนใจใฝ่รู้ของนักเรียนโดยครู การพัฒนาการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยและการพัฒนาการรับสารนิเทศจากสื่อของนักเรียนโดยทางโรงเรียนให้ความร่วมมือกับผู้ปกครอง

 

            The purposes of this research were 1) to find factors affecting the life skills of creative problem solving of the  secondary  school  students in the northeastern region.  2) to study  the levels   of the factors  affecting  the life skills  of creative problem solving of the  secondary  school  students in the northeastern region.  3) to study the developing  guideline  of  the life skills  of creative problem solving of the  secondary  school  students in the northeastern region. The population of this study consisted of  the secondary school in the northeastern region. The group of contributors is school administration, teacher, parent and student the secondary school students in the northeastern region. Descriptive statistic such as frequency, percentage, mean, standard deviation, Coefficient of Variation, Skewness  and Kurtosis was used. Pearson Correlation Coefficient and Structural equation modeling were analyzed to  assess the correspondence between the developed theoretical model and the empirical data.

         The research findings were as follows :

         1. the life skills  of creative problem solving of the  secondary  school  students in the northeastern region was at a high level.

         2. The factors affecting  the life skills  of creative problem solving of the  secondary  school  students in the northeastern region were the student, parent and social environment. Three factors were sixty-nine present explaining the variation of the life skills  of creative problem solving of the  secondary  school  students in the northeastern region at the significant level of 0.01

         3. Guided development  the student, parent and social environment were the teacher worked toward the development of the student, the teacher factors the of development  the student through democratic information received from the media, the school provides assistance to the student with    the help of the parent.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ชลณา ทัศมาลี, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

วิชัย วงษ์ใหญ่, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ศรุดา ชัยสุวรรณ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล