รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา A CORE COMPETENCY DEVELOPMENT MODEL FOR SECTION DIRECTORS IN THE OFFICE OF NAKHON RATCHASIMA PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา และเพื่อนำเสนอรูปแบบ การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงบรรยายและใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณผสมผสานกัน ซึ่งมีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 196 คน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาวิธีการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่ม โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ขั้นตอนที่ 3 สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่ม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การร่างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่ม ส่วนที่ 2 การประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 กลุ่ม โดยใช้แบบประเมิน ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยใช้คู่มือการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่มเป็นเครื่องมือในพัฒนากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 คน ทำการพัฒนาโดยศึกษาด้วยตนเองและทำกิจกรรมการพัฒนาผ่านแบบออนไลน์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-learning)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่ม โดยภาพรวมระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และมีวิธีการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่ม จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ วิธีการเรียนรู้แบบออนไลน์มากที่สุด 2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา มีองค์ประกอบ ได้แก่ แนวคิดและหลักการ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่ม และเงื่อนไขสำหรับการนำรูปแบบไปใช้ และมีกระบวนการพัฒนา 5 ขั้น คือ การเตรียมการ การประเมินก่อนการพัฒนา การพัฒนา การประเมินหลังการ
พัฒนา และการพัฒนาซ้ำ 3) การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาพบว่ารูปแบบที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดและจากการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการกลุ่ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 พบว่า คะแนนจากการทดสอบหลังการพัฒนาสูงกว่าคะแนนการทดสอบก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This research was aimed to study the core competencies of group directors, to create a model for the development of the core competencies of group directors and to present the model for the development of the core competencies of group directors under the Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office. This descriptive research was carried out using both qualitative and quantitative data collection methods. Four procedures for conducting the research were: 1) studying the core competencies of group directors by using a questionnaire with 196 samples; 2) studying the methods for the development of the core competencies of group directors by interviewing 7 scholars; 3) creating the model for the development of the core competencies of group directors which consisted of 2 parts: drafting the model for the development of the core competencies of group directors and assessing the appropriateness and the possibility of the model by having 28 scholars at the group director level and 8 scholars at the expert level to do the assessment form and 4) studying the development of the core competencies of group directors by using a manual for the development of the core competencies of group directors as a tool for developing 7 samples. The sample groups were provided with self-study sessions and online developmental activities via e-learning.
Research findings showed that 1) In general, the core competencies of group directors were at a higher level. The methods for the development of the core competencies of group directors derived from the interview with the scholars were as follow methods for developing aspect were online learning, 2) The components of the creation of the model for the development of the core competencies of group directors were 1) concepts and principles, 2) objectives of the model, 3) procedures for the development of the core competencies of group directors and 4) conditions for the model implementation. The 5 developmental procedures were preparation, assessment prior to the development, the development, the assessment after the development and the re-development. 3) Relating the presentation of the model for the development of the core competencies of group directors, the assessment that the appropriateness of the model created was in the highest level, and so was its possibility. Relating the study of the development of the core competencies of group directors under the Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 5, the post-test scores after the development were higher than the pre-test scores with the statistical significance at the .05 level.