การพัฒนาโรงเรียนชุมชนบ้านฝางสู่การเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

อุดม จันทร์โสดา
ประยุทธ ชูสอน
พงษ์ศักดิ์ ภูกาบขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโรงเรียนชุมชนบ้านฝางสู่การเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ จากการใช้แผนปฏิบัติการที่ถือเป็นตัวสอดแทรกหลัก และใช้หลักสุนทรียสาธกที่ถือเป็นตัวสอดแทรกเสริมไปปฏิบัติตามวงจรแบบเกลียวสว่าน 2 วงจรของกิจกรรมการวางแผน การนำแผนไปปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผลของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมผู้ร่วมวิจัยคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาของโรงเรียนชุมชนบ้านฝางจำนวน 43 คน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ที่มีรูปแบบเน้นความเป็นศาสตร์เชิงวิพากษ์ นำเสนอผลการวิจัยอิงกับแนวคิดเชิงวิพากษ์แสดงหลักฐานประกอบทั้งข้อมูล สถิติ ภาพถ่าย เอกสาร หรืออื่น ๆ ถึงสิ่งที่ได้ร่วมกันคิด ร่วมกันปฏิบัติร่วมกันสังเกตผล และร่วมกันสะท้อนผลการเปลี่ยนแปลง และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นทั้งในระดับตัวบุคคล ระดับกลุ่มบุคคล และระดับองค์การ (โรงเรียน)


               ผลการวิจัยพบว่าโรงเรียนชุมชนบ้านฝางได้รับการพัฒนาให้เป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ตามองค์ประกอบทั้ง 5 ด้านคือด้านการเป็นบุคคลรอบรู้  ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม  ด้านการคิดเชิงระบบ  ด้านการมีแบบแผนความคิด และด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม แต่จากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาพบว่าโรงเรียนชุมชนบ้านฝางยังไม่สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ได้  จึงได้ดำเนินงานโครงการเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้รวม 4  โครงการ คือ 1) โครงการยกระดับการเป็นบุคคลรอบรู้  2) โครงการวางแผนยุทธศาสตร์สู่การเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้  3) โครงการยกระดับการบริหารจัดการสู่การเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ และ 4) โครงการเสริมสร้างและพัฒนาทีมงานสู่การเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้  ซึ่งมีผลทำให้โรงเรียนชุมชนบ้านฝางสามารถพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ได้ในท้ายที่สุด


               นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้วิจัย ครู  และคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติหลายประการทั้งในด้านความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ และเกิดความรู้ใหม่จากการปฏิบัติ 3 ลักษณะคือ 1) ความรู้ใหม่จากการปฏิบัติตามหลักการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในบริบทเฉพาะของโรงเรียนชุมชนบ้านฝาง  2) ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการนำหลักสุนทรียสาธกร่วมเสนอต่อผู้ร่วมวิจัยและ 3) ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นจากการถอดบทเรียนที่ได้จากการทำงานร่วมกันในขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย คือ FANG Model

Article Details

บท
บทความวิจัย