การพัฒนาชุมชนวิชาการในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับด้วยกระบวนการการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

ชัชวาล อาราษฎร์
วัลลภา อารีรัตน์
ศิริกุล นามศิริ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาผลการพัฒนาชุมชนวิชาการในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับที่เป็นกรณีศึกษา  และเพื่อศึกษาผลการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาชุมชนวิชาการในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับที่เป็นกรณีศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ร่วมวิจัยคือครูโรงเรียนบ้านสวองหนองไผ่ล้อม จำนวน 15  คน เป็นการวิจัยในระดับโรงเรียน (school level)โดยดำเนินการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) ตามคุณลักษณะที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นซึ่งเป็นโรงเรียนที่ผู้วิจัยสามารถเข้าไปปฏิบัติงานภาคสนามได้ตลอดระยะเวลาที่จะทำการวิจัย  และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์  แบบประเมิน  การใช้เอกสารบันทึก  และการใช้อุปกรณ์ประกอบ  ผลการวิจัยพบว่า                                                                                                                                                                                                  


            ผลการพัฒนาชุมชนวิชาการจากการวิจัย  2 วงรอบ 8 ขั้นตอน ใน  5   องค์ประกอบ  19  ตัวบ่งชี้ชุมชนวิชาการ ดำเนินการพัฒนาในช่วงการวิจัยในวงรอบที่  1 ได้สำเร็จจำนวน 15 ตัวบ่งชี้  ดำเนินการพัฒนาไม่สำเร็จจำนวน  4 ตัวบ่งชี้  ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 วิสัยทัศน์ร่วม (Shared  Vision)  ประกอบไปด้วยตัวบ่งชี้  จำนวน  3  ตัวบ่งชี้ ดำเนินการพัฒนาได้สำเร็จทุกตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่  2 ภาวะผู้นำร่วม (Shared  Leadership) ประกอบไปด้วยตัวบ่งชี้  จำนวน  3  ตัวบ่งชี้ ดำเนินการพัฒนาได้สำเร็จทุกตัวบ่งชี้ดังนี้ องค์ประกอบที่ 3 การจัดปัจจัยเสริมหนุน  (Supportive Conditions)แบ่งเป็น  2  ด้านประกอบไปด้วยตัวบ่งชี้จำนวน  6  ตัวบ่งชี้ ดำเนินการพัฒนาได้สำเร็จทุกตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่  4  การเรียนรู้ร่วมกันและประยุกต์ใช้ (Collective  Learning and Application)  ประกอบไปด้วยตัวบ่งชี้ จำนวน  3  ตัวบ่งชี้ ดำเนินการพัฒนาได้สำเร็จ  2  ตัวบ่งชี้ ไม่สำเร็จ  1  ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากชั้นเรียนร่วมกัน  (Shared Personal Practice)ประกอบไปด้วยตัวบ่งชี้ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้  ดำเนินการพัฒนาได้สำเร็จ  1  ตัวบ่งชี้ ไม่สำเร็จ  3 ตัวบ่งชี้และเมื่อดำเนินการพัฒนาในช่วงการวิจัยในวงรอบที่ 2 สามารถดำเนินการพัฒนาตัวบ่งชี้ที่ยังไม่สำเร็จได้สำเร็จ การเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล พบว่า ครูได้มีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนอย่างชัดเจน  มีการจัดทำระเบียนสะสมและมีการส่งต่อข้อมูลนักเรียนให้กันและกัน  มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล  โดยได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบการเรียนรู้โดยครูแต่ละคนได้  การเปลี่ยนแปลงระดับกลุ่มบุคคล  พบว่า  ครูมีการจับกลุ่มกันทำงานและทำงานร่วมกัน มีการประชุมปรึกษาหารือกันระหว่างครูในแต่ละระดับช่วงชั้นเกี่ยวกับการดำเนินการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องในช่วงชั้นของตนเอง และการเปลี่ยนแปลงระดับโรงเรียน พบว่า โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาให้สูงขึ้นเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระ โรงเรียนมีกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

Article Details

Section
บทความวิจัย