การพัฒนาตัวบ่งชี้การตัดสินใจเข้าเรียนในโรงเรียนกวดวิชา

Main Article Content

จุลดิศ คัญทัพ
ประยุทธ ชูสอน
ศุภสิน ภูศรีโสม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การตัดสินใจเข้าเรียนในโรงเรียนกวดวิชา 2)เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างตัวบ่งชี้การตัดสินใจเข้าเรียนในโรงเรียนกวดวิชาที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3)เพื่อประเมินเกณฑ์และคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้การตัดสินใจเข้าเรียนในโรงเรียนกวดวิชาที่พัฒนาขึ้น การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research)  โดยการใช้วิธีการดําเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างโมเดลการตัดสินใจเข้าเรียนในโรงเรียนกวดวิชา โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก พหุกรณีศึกษาจากโรงเรียนกวดวิชาที่ได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียงในระดับประเทศ 7 โรงเรียน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการตัดสินใจเข้าเรียนในโรงเรียนกวดวิชา ระยะที่ 2 การประเมินเกณฑ์และคู่มือการตัดสินใจเข้าเรียนในโรงเรียนกวดวิชา ประชากรจำนวน 1,423 โรงเรียนและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่โรงเรียนกวดวิชา ในปีการศึกษา 2557 เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มอย่างง่ายทั้งสิ้นจำนวน 302 โรงเรียน  จำนวนโรงเรียนละ 3 คน ได้จำนวนผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้น 906 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์เป็นแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi –Structured Interview)มีลักษณะคำถามปลายเปิด โดยประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ และการสนทนากลุ่ม และ2) แบบสอบถามใช้สำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผู้ให้มูลทั้งหมด


            ผลการวิจัย พบว่า 1) โมเดลตัวบ่งชี้การตัดสินใจเข้าเรียนในโรงเรียนกวดวิชาพัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์(c2=25.84, df=27, p=0.53, GFI= 1.00, AGFI=0.98, RMR=0.01) น้ำหนักองค์ประกอบตัวบ่งชี้ทุกตัวบ่งชี้มีค่าเป็นบวกตั้งแต่ 0.55 - 0.92 องค์ประกอบย่อยที่มีค่าเป็นบวกมีขนาดตั้งแต่ 0.70 - 0.96 ส่วนน้ำหนักองค์ประกอบหลัก 7 องค์ประกอบ มีค่าเป็นบวกเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย คือ ด้านส่งเสริมการขาย (0.98) ด้านบุคลากร (0.96) ด้านสถานที่ (0.96) ด้านกระบวนการ (0.86) ด้านผลิตภัณฑ์ (0.83) ด้านราคา (0.69) และด้านลักษณะทางกายภาพ (0.53) และ2) เกณฑ์และคู่มือการตัดสินใจเข้าเรียนในโรงเรียนกวดวิชามีความเหมาะสม และการนำไปปรับใช้ได้โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

Article Details

Section
บทความวิจัย