การพัฒนาคุณภาพงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา ด้วยการเสริมพลังการทำงานของครู
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาของการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้จากการกระทำของกระบวนการวิจัย และความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับตัวบุคคลกลุ่มบุคคลและโรงเรียนและองค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาด้วยจำแนกการเสริมสร้างพลังการทำงานของครู ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ร่วมวิจัยคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนบ้านห้วยยาง จำนวน 74 คนผู้วิจัยเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกรณีศึกษาด้วยการเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกตามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการที่ผู้วิจัยจะเข้าไปปฏิบัติงานภาคสนาม ในระยะเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 1 ปีการศึกษาและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสัมภาษณ์กลุ่ม และแบบตรวจสอบหรือบันทึกประจำวัน ผลการวิจัยพบว่า
โรงเรียนบ้านห้วยยางมีการดำเนินงานการพัฒนางานวิชาการในปีที่ผ่านมาพบว่าการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านห้วยยางมีสภาพปัญหาต่างๆเกิดขึ้นหลายประการจนส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนลดลงจึงได้ดำเนินงานจัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหารวม 4 โครงการคือ 1) โครงการการผลิตสื่อและแหล่งเรียนรู้ประกอบการเรียนการสอน 2) โครงการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน 3) โครงการวิจัยในชั้นเรียนและ 4) โครงการการนิเทศแบบร่วมมือร่วมใจส่งผลให้โรงเรียนบ้านห้วยยางมีสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย ครูมีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนในรายวิชาที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง มีการนิเทศภายในแบบร่วมใจ ครูเกิดความพอใจในการทำงาน ทำงานเป็นทีม เกิดความผูกพันกับองค์กรและท้ายสุดทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สามารถอ่านออกเขียนได้ 100% นอกจากนี้ยังพบว่าผู้วิจัยกรรมการสถานศึกษา คณะครูในโรงเรียนเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในหลายประการทั้งด้านความรู้และประสบการณ์และที่สำคัญเกิดองค์ความรู้จากการปฏิบัติคือนวัตกรรมในการทำงานในโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อพัฒนางานวิชาการที่ทำให้ประสบผลสำเร็จที่เรียกว่า“โมเดลการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาด้วยการเสริมพลังการทำงานของครู” ที่เรียกว่า “ห้วยยางโมเดล (Hauy Yang Model)