การพัฒนาแนวทางการจัดการนวัตกรรมที่ส่งผลต่อโรงเรียนสมรรถนะสูง

Main Article Content

จันทรรัตน สิทธิสมจินต์
กนกอร สมปราชญ์
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการนวัตกรรมที่ส่งผลต่อโรงเรียนสมรรถนะสูงในระดับมัธยมศึกษา การดำเนินการวิจัยได้นำผลการศึกษาโมเดลปัจจัยการจัดการนวัตกรรมที่ส่งผลต่อโรงเรียนสมรรถนะสูงจากตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อโรงเรียนสมรรถนะสูงมากที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการทรัพยากร และการเรียนรู้ขององค์กรมาศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการนวัตกรรมที่ส่งผลต่อโรงเรียนสมรรถนะสูงโดย 1) ศึกษา Best Practice ของโรงเรียนมัธยมศึกษา 3 แห่ง ที่ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง 2) จัดทำร่างแนวทางการพัฒนาโดยพิจารณาตามขนาดอิทธิพลร่วมกับ  ผลการศึกษา Best Practice และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องนำมาเรียบเรียงเป็นร่างแนวทางการพัฒนา 3) ตรวจสอบร่างแนวทางการพัฒนาโดยใช้เทคนิคการหาฉันทามติแบบพหุลักษณะจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน ที่ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติ แบ่งเป็น 3 กลุ่มประกอบด้วยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการทรัพยากรและการเรียนรู้ขององค์กร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินความสำคัญและความจำเป็นของแนวทางการพัฒนา 


ผลการวิจัยพบว่าด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีแนวทาง คือ 1) ผู้บริหารวางทิศทางองค์กรโดยจัดกิจกรรมเพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ 2) ผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้เพื่อให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และเสริมพลังอำนาจให้แก่บุคลากร 3) ผู้บริหารวางแผนภาพสำหรับสถานการณ์ในอนาคต ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยการทำ Backward Mapping  4) ผู้บริหารมีความคิดสร้างสรรค์ มีความกล้าและมีการจัดการความเสี่ยง 5) ผู้บริหารมีกลยุทธ์เพื่อสร้าง   การมีส่วนร่วม เป็นผู้นิเทศ สอนงาน และเป็นที่ปรึกษา ด้านการจัดการทรัพยากรมีแนวทาง คือ 1) การส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพและการเป็นผู้นำของครู 2) การสนับสนุนงบประมาณและสร้างบรรยากาศ  สภาพแวดล้อมที่ทรงพลังเพื่อการเกิดนวัตกรรม 3) การคัดเลือก ส่งเสริมบุคลากรที่มีความสามารถและสร้างความผูกพันของบุคลากร 4) การสร้างกระบวนการนวัตกรรม 5) การจัดระบบ กระบวนการปฏิบัติงานและสร้างห่วงโซ่อุปทาน และด้านการเรียนรู้ขององค์กรมีแนวทาง คือ 1) การมุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) การนำวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ลงสู่การปฏิบัติงานของบุคลากร 3) การพัฒนาองค์ความรู้สู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและการจัดการความรู้ 4) การมีกระบวนการทบทวนและสะท้อนผลเพื่อ   ให้เกิดกระบวนการปรับปรุง 5) การสื่อสารที่หลากหลายช่องทาง

Article Details

Section
บทความวิจัย