รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในวิทยาลัยครูเขตภาคกลาง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของครู 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครู 3) ตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในวิทยาลัยครูเขตภาคกลาง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R & D) ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิด และ องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของครู ระยะที่ 2 การออกแบบและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนา และระยะที่ 3 การนำไปทดลองใช้ภาคสนาม และสรุปผลการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในวิทยาลัยครูเขตภาคกลาง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มี 5 องค์ประกอบหลัก และ 15 องค์ประกอบย่อย ดังนี้คือ 1) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายการเรียนรู้ มี 3 องค์ประกอบย่อยคือ ร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ ให้ความสำคัญสูงสุดต่อการเรียนรู้ และสร้างเกณฑ์มาตรฐานทางวิชาการ 2) ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการสอน มี 4 องค์ประกอบย่อยคือ ความเข้าใจหลักสูตรกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การใช้และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการสอน 3) ด้านการส่งเสริมคุณภาพของผู้เรียน มี 3 องค์ประกอบย่อยคือ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ความคาดหวังต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และการเพิ่มพูนความก้าวหน้าของผู้เรียน 4) ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มี 3 องค์ประกอบย่อยคือ การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนความคิดและสะท้อนผลงาน และการสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับครูผู้สอนผู้เรียนและชุมชน 5) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มี 2 องค์ประกอบย่อยคือ ให้ความสำคัญแก่การวิจัย และมีความรู้และทักษะการทำวิจัย สำหรับตัวชี้วัดภาวะผู้นำทางวิชาการของครู รวมทั้งสิ้นมี 75 ตัวชี้วัด
2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในวิทยาลัยครูเขตภาคกลาง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหากระบวนการพัฒนา และการวัดและประเมินผล
3. ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในวิทยาลัยครูเขตภาคกลาง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พบว่า พฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการของครู หลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูสูงกว่าก่อนการทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นว่า รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูมีประสิทธิผลสามารถพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในวิทยาลัยครูเขตภาคกลาง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามให้สูงขึ้นไ