การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก

Main Article Content

เพ็ญประภา ศรีมะโรง
วาโร เพ็งสวัสดิ์
พรเทพ เสถียรนพเก้า
จำนง วงษ์ชาชม

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหาร งานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก และทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ของตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กกับข้อมูลเชิงประจักษ์  การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ประกอบด้วยระยะแรก คือ การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการวิเคราะห์เอกสารเชิงทฤษฎี จัดทำกรอบแนวคิดตัวบ่งชี้  ร่างตัวบ่งชี้ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ระยะที่สองคือ การทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก  ใน 3 จังหวัด คือ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 222 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าสถิติพื้นฐานและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กมี 10 องค์ประกอบ  112 ตัวบ่งชี้ ซึ่งแต่ละองค์ประกอบได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษา 12 ตัวบ่งชี้ ด้านการมีภาวะผู้นำทางวิชาการ 18 ตัวบ่งชี้ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 10 ตัวบ่งชี้  ด้านการบริหารจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  10 ตัวบ่งชี้ ด้านการส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้  8 ตัวบ่งชี้ ด้านการนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา 10 ตัวบ่งชี้  ด้านการจัดหาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน 10 ตัวบ่งชี้  ด้านการพัฒนาบุคลากรด้านงานวิชาการ 10 ตัวบ่งชี้  ด้านการสร้างสัมพันธภาพในการทำงาน 14 ตัวบ่งชี้ และ ด้านการติดตามการวัดผลประเมินผล 10 ตัวบ่งชี้โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ (  X 2 = 18.08  df =23  ค่า P = 0.7532 ค่า GFI = 0.98  ค่า AGFI = 0.96 ค่า RMSEA = 0.000 ค่า CN = 484.55) 


 

Article Details

Section
บทความวิจัย