รูปแบบการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมชุมชนของสถาบันอุดมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

พัชรีพร วรจักร
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
สมพงษ์ ปั้นหุ่น
บุญเดิม พันรอบ

Abstract

        การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความต้องการของชุมชนที่มีต่อบทบาทการทำนุบำศิลปวัฒนธรรมชุมชนของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2)สร้างรูปแบบการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมชุมชนของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ3)ตรวจสอบรูปแบบการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมชุมชนของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยศึกษาจากการ ปฏิบัติที่เป็นเลิศของ3 สถาบันอุดมศึกษา คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยามหาสารคาม


                    มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุมชนที่อยู่ในเขตบริการวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา 3 แห่งจำนวน 1113 คน โดยการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกนโดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ ใช้เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามความต้องการสำหรับชุมชนด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสถาบันอุดมศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่หาค่าร้อยละ ข้อมูลมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับวิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษาด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม6  ผู้ปฏิบัติงาน 62คนเครื่องมือการวิจัย ได้แก่สัมภาษณ์สำหรับอุดมศึกษา แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่หาค่าร้อยละ ข้อมูลมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับวิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตรวจสอบรูปแบบด้วยการสนทนากลุ่มจำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)


            ผลการวิจัย 1)สภาพปัญหาความต้องการของชุมชน พบว่าชุมชนเสนอเกี่ยวกับการจัดทำเว็ปไซต์ให้คำแนะนำจัดให้มีการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของอาจารย์ นิสิตนักศึกษาและคนในชุมชนให้โอกาสคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดชื่อเรื่องและร่วมดำเนินการวิจัยส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตด้วยการใช้ทรัพยากรด้านวัฒนธรรมอย่างถูกต้อง 2)รูปแบบการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมชุมชนของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่าการบริหารมีแผนการพัฒนาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทของสถาบันอุดมศึกษาด้านนโยบาย ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านปฏิบัติงานของสถาบันอุดมศึกษาจัดทำแผนในการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  3) ผลการตรวจสอบรูปแบบการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมชุมชนของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า ภาพรวมของรูปแบบการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมชุมชนของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเหมาะสมมากที่สุด ความเป็นไปได้มากที่สุด และความเป็นประโยชน์มากที่สุด

Article Details

Section
บทความวิจัย