การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) สร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้ สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) สกัดตัวบ่งชี้ที่ไม่สำคัญโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 และ 3) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ที่พัฒนาขึ้น กับข้อมูลเชิงประจักษ์ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการสร้างและพัฒนาร่างตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 พบว่า มีองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สมรรถนะพื้นฐาน มีองค์ประกอบย่อย 6 องค์ประกอบ มีตัวบ่งชี้ 27 ตัว 2) สมรรถนะวิชาชีพ มีองค์ประกอบย่อย 5 องค์ประกอบ มีตัวบ่งชี้ 25 ตัว และ 3) สมรรถนะทางสังคม มีองค์ประกอบย่อย 8 องค์ประกอบ มีตัวบ่งชี้ 36 ตัว
2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่า มีองค์ประกอบ 12 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การทำงานเป็นทีม 2) การมีทักษะทางเทคโนโลยี 3) การดูแลตนเองและสิ่งแวดล้อม 4) การมีคุณธรรมจริยธรรม 5) การจัดการเรียนรู้ 6) การมีทักษะและกระบวนการคิด 7) การมีทักษะทางสังคม 8) การมีความรู้ความสามารถ 9) การบริหารหลักสูตร 10) การจัดการชั้นเรียน 11) การวิจัยทางการศึกษา และ 12) การมีภาวะผู้นำครู มีตัวบ่งชี้ทั้งหมด 87 ตัว
3. ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน มีค่าสถิติดังนี้ X2 = 3,094.137, df = 2,968 , p = 0.0522, CFI = 0.997, TLI = 0.996, RMSEA = 0.009, SRMR = 0.038 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์