รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของครูพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของครูพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัฒนาขึ้น โดยการทดลองใช้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดและองค์ประกอบภาวะผู้นำของครูพลศึกษา มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และขั้นตอน ที่ 3 ศึกษาสำรวจโดยการตอบแบบสอบถามจากครูผู้สอนพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 680 คน ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบ ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน การพัฒนา ชุดพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่ามี 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) บุคลิกภาพ 2) คุณธรรมจริยธรรม 3) ความรู้ ความสามารถ 4) การพัฒนาตนเอง วิธีการพัฒนามีวิธี ดังนี้ ได้จากการศึกษาเอกสาร ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ประกอบ และสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำของครูพลศึกษาจากการสำรวจครูผู้สอนพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของครูพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา มีส่วนประกอบดังนี้คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการพัฒนา ชุดพัฒนา การติดตามและประเมินผล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) การปฐมนิเทศ และการประเมินตนเอง 2) การฝึกอบรมพัฒนา โดยยึด การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) ใช้เวลาในการพัฒนา จำนวน 2 วัน 3) การฝึกปฏิบัติการ และ 4) การกำกับ ติดตามและประเมินผล ชุดการพัฒนาภาวะผู้นำของครูพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา มี 4 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 บุคลิกภาพของผู้นำครูพลศึกษา ชุดที่ 2 คุณธรรม จริยธรรมของผู้นำครูพลศึกษา ชุดที่ 3 ความรู้ ความสามารถของครูพลศึกษาและชุดที่ 4 การพัฒนาตนเอง พัฒนาวิชาชีพครูพลศึกษา ซึ่งแต่ละชุดประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ 2) เนื้อหา 3) วิธีการพัฒนา 4) สื่อและแหล่งเรียนรู้ เอกสารอ้างอิง และ 5) กิจกรรมการพัฒนาและการติดตามและประเมินผล หลังการพัฒนา 2 สัปดาห์ และผลของการประเมินรูปแบบ มี 2 ส่วน ความเหมาะสมของรูปแบบ ดังนี้ 1) ความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของครูพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายองค์ประกอบ พบว่า หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด ชุดการพัฒนา ในแต่ละองค์ประกอบ และการติดตามและประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ รูปแบบพัฒนา มีประสิทธิผลโดยผู้ที่เข้ารับการพัฒนาภาวะผู้นำตามรูปแบบมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามองค์ประกอบภาวะผู้นำทั้ง 4ด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยหรือในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านทุกองค์ประกอบมากที่สุด โดยมีผลการพัฒนาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 2.66 ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 91.84 และผู้เข้ารับการพัฒนา เกิดความคงทนของภาวะผู้นำ ของครูพลศึกษา ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบระหว่างพฤติกรรมระยะติดตามกับพฤติกรรม หลังการทดลอง โดยการติดตามหลัง 2 สัปดาห์ พบว่า ค่าเฉลี่ยในภาพรวมเพิ่มขึ้นจาก 4.77 เป็น 4.90 เพิ่มขึ้น 0.14 หรือคิดเป็นอัตรา ร้อยละ 51.93