อนาคตภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดในการเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตในทศวรรษหน้า

Main Article Content

ศาสตราวิทย์ วงศ์บุตรลีวัฒนา
ดาวรุวรรณ ถวิลการ
วิชิต กํามันตะคุณ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพที่เป็นไปได้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ในการเป็น
สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2565) ในด้านการบริหาร
จัดการ หลักสูตรและการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม บุคลากร
คุณลักษณะของบัณฑิต ทรัพยากร เทคโนโลยีสารสนเทศ และวัฒนธรรมองค์การ ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
ด้วยกระบวนการวิจัยอนาคต แบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ
ทํานายภาพอนาคตของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด คือ ผู้ใช้บัณฑิต ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาไทยที่ร่วมผลิตบัณฑิต
ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และผู้ผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จํานวน 17 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง
ตามเกณฑ์ที่กําหนด ดําเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความเป็นมา สภาพปัจจุบันและแนวโน้มใน
อนาคตของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยใช้เทคนิควิธีการศึกษาเอกสาร ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาเพื่อจัดทําร่าง
อนาคตภาพที่เป็นไปได้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดในทศวรรษหน้า ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความเหมาะสมของ
ร่างอนาคตภาพ และขั้นตอนที่ 4 การประมาณค่าความเป็นไปได้และค่าความสอดคล้องของอนาคตภาพของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เพื่อยืนยันถึงความเป็นไปได้และความสอดคล้องกันของอนาคตภาพ
ผลการวิจัยพบว่า ด้านการบริหารจัดการ มีการบริหารเชิงสร้างสรรค์ มีส่วนร่วมและการกระจายอํานาจ
มีเครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติ ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน มีหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับการ
เปลี่ยนแปลงสู่นานาชาติ มีหลักสูตรเฉพาะทาง และมีกระบวนการพัฒนาหลักสูตรอย่างบูรณาการ ส่วนการจัดการ
เรียนการสอนจะมีความเป็นสากลมากขึ้น มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ ใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
ด้านการวิจัย จะมีจํานวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ของอาจารย์ในระดับนานาชาติ มีทุนวิจัยจากภายนอก และประเด็นการ
วิจัยจะเน้นการวิจัยเพื่อชุมชนเป็นหลัก ด้านการบริการวิชาการ จะมีการบริการวิชาการในชุมชนท้องถิ่นที่มุ่งเน้นการ


พัฒนาความรู้ ทักษะและประสบการณ์ทางวิชาชีพ มีการบริการวิชาการข้ามวัฒนธรรม ด้านการทํานุบํารุง
ศิลปวัฒนธรรมจะบูรณาการการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับท้องถิ่น และใช้กระบวนการวิจัยเพื่อ
พัฒนาการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม ด้านบุคลากร จะมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก มีโอกาสและประสบการณ์
ต่างประเทศ มีทักษะการสื่อสารมากกว่าหนึ่งภาษา มีเครือข่ายกับบุคลากรจากสถาบันอื่นๆ ด้านคุณลักษณะของ
บัณฑิต มีความรู้ความสามารถในการทํางานร่วมกับบุคคลอื่น สามารถปรับตัวและรู้เท่าทันเทคโนโลยี มีทักษะชีวิตที่
สามารถเอาตัวรอดได้ในสังคม ด้านทรัพยากร มีทรัพยากรในการจัดการศึกษาที่เพียงพอ และมีคุณภาพ มีการใช้พื้นที่
ในเชิงพาณิชย์เพื่อการระดมทรัพยากร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการศึกษา
ยกระดับเทคโนโลยีท้องถิ่นให้เทียบเท่ากับสากล และมีการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาท้องถิ่น และด้านวัฒนธรรม
องค์การ มีภาพรวมของความเชื่อและค่านิยมที่มุ่งเน้นคุณภาพ วิถีปฏิบัติสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มุ่งความสําเร็จ

Article Details

Section
บทความวิจัย