การพัฒนาระบบติดตามและประเมินประสิทธิผลโรงเรียน: การประยุกต์ใช้โมเดล มูลค่าเพิ่ม 4 ระดับ และการประเมินแบบทฤษฎีแรงขับ

Main Article Content

วีระศักดิ์ คําล้าน
จตุภูมิ เขตจัตุรัส
เพ็ญภัคร พื้นผา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบติดตาม และประเมินประสิทธิผลโรงเรียน
โดยการประยุกต์ใช้โมเดลมูลค่าเพิ่ม 4 ระดับและการประเมินแบบทฤษฎีแรงขับ วิธีดําเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อสร้างระบบติดตามและประเมินประสิทธิผลโรงเรียน โดยใช้วิธีการวิจัยผสมผสาน
การวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียน 40 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลพหุระดับด้วยโปรแกรม HLM 7.0 แล้วคัดเลือก
โรงเรียน 2 แห่งในการวิจัยเชิงคุณภาพ แล้ววิเคราะห์ข้ามกรณี ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาระบบติดตามและประเมิน
ประสิทธิผลโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร ครู และผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ระบบติดตามและประเมินประสิทธิผลโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร ครู และศึกษานิเทศก์
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบคุณภาพของระบบระบบติดตามและ
ประเมินประสิทธิผลโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร ครู และศึกษานิเทศก์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. โมเดลการวัดประสิทธิผลโรงเรียนเป็นโมเดลมูลค่าเพิ่ม 4 ระดับ สามารถอธิบายความแปรปรวนทั้งหมดของ
ตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการวิชาภาษาไทยได้ร้อยละ 46.53 และผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการวิชาคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 45.54
2. ระบบติดตาม และประเมินประสิทธิผลโรงเรียน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้าน
ปัจจัยนําเข้า ประกอบด้วย (1) วัตถุประสงค์ของการติดตามและประเมิน (2) เนื้องานประสิทธิผลโรงเรียนที่มุ่งประเมิน
(3) องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในการติดตามและประเมินผล (4) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน และ (5)
ระยะเวลาในการติดตามและประเมินผล องค์ประกอบที่ 2 ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย (1) ขั้นเตรียมการติดตาม
และประเมิน (2) ขั้นดําเนินการติดตามและประเมิน (3) ขั้นสรุปผลและทบทวนผลการติดตามและประเมิน และ (4) ขั้น
การให้ข้อมูลป้อนกลับและรายงานต้นสังกัด องค์ประกอบที่ 3 ด้านผลผลิต ประกอบด้วย สรุปผลการติดตามและประเมิน
การดําเนินงานของโรงเรียน และ องค์ประกอบที่ 4 ด้านข้อมูลป้อนกลับ ประกอบด้วย (1) รายงานผลการติดตามและ
ประเมินประสิทธิผลโรงเรียน (2) การใช้ผลการติดตามและประเมินประสิทธิผลโรงเรียน  3. คุณภาพของระบบติดตามและประเมินประสิทธิผลโรงเรียนตามมาตรฐานด้านอรรถประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง ด้านความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้พบว้า อยู่ในระดับมากที่สุด
ทุกด้าน และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่มีต่อระบบติดตามและประเมินประสิทธิผล
โรงเรียน ในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด

Article Details

Section
บทความวิจัย