การพัฒนารูปแบบการประเมินทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพด้านการจัดการอนามัย สิ่งแวดล้อม: การตรวจสอบคุณภาพเกณฑ์การให้คะแนนโดยใช้โมเดลหลายองค์ประกอบ ของราส์ช และประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดการประเมินของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค แห่งสหรัฐอเมริกา

Main Article Content

ประทีป กาลเขว้า
จตุภูมิ เขตจัตุรัส
นงลักษณ์ พะไกยะ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพด้าน
การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม 2) พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการประเมินทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพด้านการ
จัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและ 3) ประเมินคุณภาพของรูปแบบการประเมินทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพด้านการ
จัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมโดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ตรวจสอบคุณภาพ
เครื่องมือโดยเปรียบเทียบเกณฑ์การให้คะแนนแบบแบบแยกส่วน (Analytic Scoring Rubrics) และ เกณฑ์การให้
คะแนนแบบภาพรวม (Holistic Scoring Rubrics) ด้วยโมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช (Many-Facet Rasch Model :
MFRM) เครื่องมือที่ใช้ในการนํารูปแบบการประเมินที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ประกอบด้วย แบบประเมินทักษะฯ และ คู่มือ
การใช้รูปแบบ ทดลองภาคสนามในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร 1 แห่งผู้ประเมินประกอบ้วย อาจารย์นิเทศก์
อาจารย์พี่เลี้ยง และนักศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาการแจกแจงความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบใช้ Spearman Rank Correlation (rs) ผลการวิจัย พบว่า
1) ทักษะหลักและตัวบ่งชี้ทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษา
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนประกอบด้วย 7 ทักษะหลัก (Core Skills) ได้แก่ 1)
การจัดการและควบคุมที่พักอาศัย 2) การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 3) การควบคุมและกําจัดแมลงและสัตว์
กัดแทะ(หนู) 4) การดําเนินงานอาหารปลอดภัย 5) การจัดหาน้ําสะอาดและจัดการคุณภาพน้ําดื่ม 6) การจัดการน้ํา
เสีย และ 7) การควบคุมและระงับเหตุรําคาญ ตัวบ่งชี้ที่สําคัญของการปฏิบัติทางวิชาชีพ (Key Performance


Indicators) ของแต่ละทักษะหลัก จํานวน 4 ตัวบ่งชี้ รวมทั้งหมด 28 ตัวบ่งชี้สําคัญ และพฤติกรรมบ่งชี้ (Behavioral
indicators) ทั้งหมด 98 พฤติกรรมบงชี้ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC)ตัวบ่งชี้สําคัญในทักษะหลักการปฏิบัติทางวิชาชีพ
ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มี
ค่าตั้งแต่ 0.94-1.00 ผลการตรวจสอบคุณภาพเกณฑ์การให้คะแนนด้วยโมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช (ManyFacet
Rasch Model : MFRM) พบว่า การให้คะแนนแบบภาพรวม (Holistic Scoring Rubrics) มีความเหมาะสมในการ
นําไปใช้ประเมินทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมมากกว่เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยก
ส่วน (Analytic Scoring Rubrics) (ค่าความเข้มงวด/ใจดี (Severity/Leniency) เท่ากับ 2.14 , ดัชนีความเชื่อมั่นแยกส่วน
(Reliability of Separation Index) เท่ากับ 1.26 และความเชื่อมั่นแยกส่วนของผู้ตรวจ (Rater Separation Reliability)
เท่ากับ 0.61
2) รูปแบบการประเมินทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษา
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มี5 องค์ประกอบคือ 1) จุดมุ่งหมายของการ
ประเมิน 2) สิ่งที่มุ่งประเมิน 3) วิธีการประเมินประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ (1) การส้างความเข้าใจร่วมกันกับ
ผู้เกี่ยวข้อง (Describe and Clarify the Program’s Purpose) (2) การออกแบบการประเมินที่เหมาะสม (Focus the
Evaluation Design) (3) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานที่น่าเชื่อถือ (Gather Credible Evidence) และ(4) การ
ประมวลผลเพื่อหาข้อสรุป (Justify Conclusions)4) การตัดสินผลการประเมิน และ 5) การนําผลการประเมินไปใช้
คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินโดยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคะแนนเกณฑ์ ในระดับที่สูงกว่า
คะแนนการประเมินโดยรูปแบบเดิมกับคะแนนเกณฑ์(rs=0.56 และ rs=0.34 ตามลําดับ)
3) ผลการประเมินคุณภาพรูปแบบการประเมินทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพด้านการจัดการอนามัย
สิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานการประเมิน ด้านความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความ
รับผิดชอบที่ตรวจสอบได้และด้านความเหมาะสม มีคุณภาพอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผู้ประเมินมีความคิดเห็นต้อการ
ใช้รูปแบบการประเมินโดยภาพรวม มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก

Article Details

Section
บทความวิจัย