การพัฒนารูปแบบการกํากับติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ด้านทักษะการคิดขั้นสูงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประยุกต์แนวคิดการประเมินแบบแผนที่ผลลัพธ์

Main Article Content

ชาครีย์ คะนอง
ประกฤติยา ทักษิโณ
จตุภูมิ เขตจัตุรัส

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research And Development) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ
ปัจจุบัน ปัญหาการดําเนินงาน และแนวทางในการกํากับติดตามและประเมินผลด้านทักษะการคิดขั้นสูงในสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการกํากับติดตามและประเมินผลด้านทักษะการคิดขั้นสูงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยการประยุกต์แนวคิดการประเมินแบบแผนที่ผลลัพธ์ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบฯ 4) เพื่อศึกษาคุณภาพของรูปแบบฯ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้แบ่งตามระยะการวิจัย 5 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 (R1) การสํารวจและวิเคราะหรูปแบบ
ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ รวมทั้งสิ้น 92 คน ระยะที่ 2 (D1) การออกแบบรูปแบบ และระยะ
ที่ 3 (D1) การพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 คน โดยใช้การสนทนากลุ้ม (Focus
Group) ระยะที่ 4 (R2) การนํารูปแบบไปใช้ และระยะที่ 5 (D2) การประเมินคุณภาพรูปแบบ ประกอบด้วย ผู้บริหาร
คณะกรรมการบริหารงานวิชาการ ครูระดับชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 ของโรงเรียนเป้าหมาย 1 โรงเรียน และผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ดําเนินการวิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันในการกํากับติดตามและประเมินผลด้านทักษะการคิดขั้นสูงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใน
ภาพรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง
2. รูปแบบการกํากับติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาด้านทักษะการคิดขั้นสูง มีองค์ประกอบของ
รูปแบบ ดังนี้ 1) วัตถุประสงค์และเป้าหมายของรูปแบบ 2) สิ่งที่มุ่งกํากับติดตามและประเมินผล
3) วิธีการดําเนินการกํากับติดตามและประเมินผลโดยการประยุกต์แนวคิดการประเมินแบบแผนที่ผลลัพธ์


4) เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญให์คะแนนการประเมินองค์ประกอบของรูปแบบด้านความเหมาะสมและ
ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
3. ผลการนํารูปแบบไปใช้ มีผลการดําเนินงานที่บรรลุตามองค์ประกอบหลักของแนวคิดการประเมินแบบแผน
ที่ผลลัพธื โดยมีผลการประเมินใน ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก
ที่สุด และด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
4. ผลการศึกษาคุณภาพของรูปแบบโดยเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพนักเรียนด้านทักษะการคิดขั้นสูง
ก่อนและหลังใช้รูปแบบ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นคิดเป็น 4.15 คะแนน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมี
ผลการประเมินความพึงพอใจด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง
อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

Section
บทความวิจัย